เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี

เบื้องหลังของคนประกอบวิชาชีพทำบัญชี


ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า

“นักกฎหมาย เปรียบเสมือน เหยี่ยว” : “นักบัญชี เปรียบเสมือน นกพิราบ”

อย่างไรก็ตามนักบัญชีก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่องของกฎหมาย แม้จะไม่มีความจำเป็นถึงกับจะต้องสามารถอ้างมาตราของกฎหมายได้ในทุกครั้ง แต่นักบัญชีก็จะต้องรู้ว่าเรื่องที่จะต้องทำของงานบัญชีนั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายใดบ้าง และมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง

กฎหมายและข้อปฏิบัติหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ที่นักบัญชีจำเป็นต้องรู้
  1. พระราชบัญญัติการบัญชี 2543
  2. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี 2547
  3. ประกาศกรมทะเบียนการค้า (ที่ยังมีผลบังคับอยู่)
  4. ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  5. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  6. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
  7. ประมวลรัษฎากร
  8. ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
  9. มาตรฐานการบัญชี (ถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย)
  10. ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ๒๕๖๑
  11. ข้อกำหนดอื่น(ที่อาจมี อันเกิดจากลักษณะเฉพาะของแต่ละประเภทธุรกิจที่ต้องมีกฎหมายเฉพาะในการควบคุม)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ขอบคุณบทความจาก :: https://www.greenprokspforsme.com  หรือ Click
 553
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
ในวงการวิชาชีพบัญชี ประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนแปลง เนื่องจากด้านเทคโนโลยีในวงการวิชาชีพบัญชียังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นับวันยิ่งเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดอย่างใน ปี 2020 แนวโน้มจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นักบัญชีจะต้องเตรียมความพร้อมและรับมืออย่างไร
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่าและเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ
การจะเข้าสู่วงจรธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ประเด็นแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ คือจะทำธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์