ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร

ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร


ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า

          1. กรณีลูกค้าเลยกำหนดจ่าย: นัดเจรจาเพื่อหาแนวทางแก้ไข
          2. เจรจาเพื่อหาข้อสรุป เช่น เลื่อนการจ่ายออกไปโดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะได้รับเมื่อไร และมีเงื่อนไข ถ้าไม่ทำตามสัญญา เช่น คิดค่าปรับ คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
          3. ถ้าลูกค้าประสบปัญหาเช่นงานไม่มีเพิ่มเข้ามาหรืองานเก่าเก็บเงินไม่ได้ อาจหาทางอื่นเพื่อเก็บหลักประกันเพิ่มเติมเช่นขอโฉนดที่ดินมาเก็บไว้เพื่อเป็นการประกันการจ่ายเงิน
          4. ถ้าลูกค้าไม่มีหลักประกัน อาจให้ลูกค้าทยอยจ่าย อาจแบ่งเป็นงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน หรือตามที่ลูกค้าคาดว่าจะเก็บได้
          5. ถ้าลูกค้ายังผิดนัดชำระ ให้ทำหนังสือแจ้ง เรื่องหนี้ และกำหนดมาตรการหากลูกค้ายังผิดนัดชำระอีก เช่น ทำบัญชีลูกหนี้ที่มีปัญหา, ทำเรื่องส่งทนายฟ้องศาล

มาตรการป้องกันในอนาคต

          1. จัดทำบัญชีลูกหนี้ และมีการประเมินคุณภาพหนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น การแยกอายุหนี้ 30 วัน, 60 วัน, หรือมากกว่า 90 วัน และกำหนดมาตรการกับลูกค้าแต่ละอายุ เช่นการลดส่วนลดที่เคยให้ ลดวงเงินเครดิต หรือเพิ่มดอกเบี้ยเป็นต้น
          2. มีการกำหนดวงเงินลูกค้าแต่ละรายและกำหนดอายุหนี้ให้สั้นลง หากลูกค้าผิดนัด โดยไม่มีเหตุผล
          3. มีการกำหนดหลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่มีวงเงินเครดิตสูง ๆ เช่น 1 ล้านขึ้นไปต้องวางตั๋วอาวัลไว้ 1 ล้านบาทเป็นต้น
          4. ขายเงินสดสำหรับลูกค้ารายใหม่ โดยไม่ปล่อยเครดิตง่ายจนเกินไป ต้องซื้อขายกันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี มีการซื้อต่อเนื่อง
          5. ถ้าลูกค้ารายไหนจ่ายเงินตรงตามเวลาและกำหนด ก็จะมีส่วนลดเพิ่มให้เป็นพิเศษหรือจ่ายเป็นรางวัลปลายปีให้ลูกค้ารายนั้น ๆ
          6. พยายามไม่ให้ลูกค้ามีวงเงินหนี้คงค้างเป็นจำนวนมากเกินกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยของลูกค้าแต่ละราย เพื่อเป็นการป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : www.accountancy.in.th

 745
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์