จ่ายค่าจ้างพนักงานใช้หลักฐานอะไรบันทึกบัญชี

จ่ายค่าจ้างพนักงานใช้หลักฐานอะไรบันทึกบัญชี


ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  
กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

•ค่าบริการนั้นเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
•รู้ว่าผู้ให้บริการคือใคร (สามารถกรอกข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่ายได้)
•มีการจ่ายเงินไปจริง

*นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
*เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

กรมสรรพากรบอกว่าถ้าเราลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เราจะต้องควักเงินจ่ายค่าภาษีแทน

* ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เราควักจ่ายแทน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ (ยกเว้นมีสัญญาตั้งแต่ต้นว่ากิจการจะเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้)

จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายเลือกอะไรดีระหว่าง

1.โยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้ง
2.ควักเงินออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทน

หลักคิดคือ ถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่กำไร ปกติเมื่อบริษัทมีกำไรจะเสียภาษีในอัตรา 15-20% ของกำไรทางภาษี ดังนั้นถ้าเราโยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้งจะส่งผลทำให้เราเสียภาษีเพิ่ม 15-20% เลยทีเดียว ในขณะที่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งแค่ 1-5% เท่านั้นเอง แม้จะรวมค่าปรับยื่นแบบล่าช้าก็ไม่ถึง 15% ดังนั้นไม่ควรโยนบิลทิ้ง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


อบคุณบทความจาก : kknaccounting

 505
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สินทรัพย์ในทางบัญชี หมายถึง ทรัพยากรที่มีและอยู่ในการควบคุมของกิจการ สินทรัพย์นี้อาจจะเป็นสิ่งที่มีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งสามารถตีราคามูลค่าเป็นเงินได้ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผล ของ เหตุการณ์ในอดีต ซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคตเราสามารถ
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์