รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี

รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี


เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง และจ่ายส่วนที่เหลือเป็นเงินปันผล การจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) หรือหากบริษัทมีแผนนำเงินปันผลไปลงทุนต่อ ปริมาณค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนได้เงินปันผลจัดสรรในปริมาณต่อหุ้นตายตัว โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับการถือหุ้น สำหรับบริษัทร่วมทุน การจ่ายเงินปันผลไม่เป็นค่าใช้จ่าย แต่เป็นการแบ่งรายได้หลังหักภาษีกันของผู้ถือหุ้น กำไรสะสมแสดงในส่วนส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder equity) ในงบดุลของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นทุนที่นำออกจำหน่ายบริษัทมหาชนมักจ่ายเงินปันผลตามกำหนดเวลาตายตัว แต่อาจประกาศเงินปันผลเมื่อใดก็ได้ บางครั้งเรียก เงินปันผลพิเศษ เพื่อแยกกับเงินปันผลตามเวลาตายตัว ตรงข้ามกับสหกรณ์ซึ่งจ่ายเงินปันผลตามกิจกรรมของสมาชิก ฉะนั้นเงินปันผลของสหกรณ์จึงมักจัดเป็นค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษี


โดยทั่วไป การจ่ายเงินปันผลจะจ่ายเป็นเงินไม่ว่าจะกระทำในรูปของเช็คหรือการโอนเงินปันผลเข้าบัญชีของผู้ถือหุ้นแต่ละคนโดยตรง(E-Dividend) แต่บริษัทอาจจ่ายเงินปันผลเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายเป็นหุ้นของบริษัทหรือบริษัทในเครือ กล่าวคือโดยการออกหุ้นโบนัสให้แก่ผู้ถือหุ้น ในกรณีเช่นนี้บริษัทจะต้องดำเนินการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่และโอนเงินกำไรเท่ากับมูลค่าของหุ้นโบนัสเข้าบัญชีทุนของบริษัท ทั้งนี้ แม้บริษัทจะยังค้างจ่ายเงินปันผลอยู่ ผู้ถือหุ้นก็จะคิดดอกเบี้ยเอาแก่บริษัทมิได้2ในทางปฏิบัติ เงินปันผลเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายประเภท โดยผู้เขียนมีกรอบการนำเสนอดังนี้

1. เงินปันผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. เงินปันผลตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
3. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
5. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลำดับรองตามประมวลรัษฎากร
6. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520



Click Download รายละเอียด รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
 336
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน
การเริ่มต้นจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดนั้น จะต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน และทำอะไรบ้าง เป็นคำถามที่หลายท่านสงสัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หรือแม้แต่กระทั่งนักบัญชีมือใหม่เอง
เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์