ภาษีครึ่งปี คำนวณอย่างไร

ภาษีครึ่งปี คำนวณอย่างไร



เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน

ทั้งนี้สำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ อาจมีคำถามสำหรับการคำนวณภาษีครึ่งปีเพื่อการคำนวณกำไรสุทธิ สำหรับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีนั้นมีความแตกต่างจากการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีรอบสิ้นปี เนื่องจากกำไรสุทธิที่นำมาคำนวณภาษีรอบครึ่งปีไม่ใช่กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงแต่เป็นการ “ประมาณการกำไรสุทธิ” ของกิจการโดยกิจการจะต้องประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล รอบครึ่งปีโดยคำนวณจากครึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี

ตรงนี้ SME มือใหม่อาจจะสับสนกันว่าจะประเมินกำไรเท่าไหร่ดี ขอยกตัวอย่างดังนี้  เช่น บริษัท A ประมาณการว่าปีนี้ทั้งปีจะมีกำไรสุทธิ 4,000,000 บาท ภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบครึ่งปีของ บริษัท A จะคำนวณได้จาก ครึ่งหนึ่งของ ประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี คือ 2,000,000 บาท คูณกับอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด คือ ร้อยละ 20 ดังนั้น บริษัท A จึงต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบ ครึ่งปีเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท(ยังไม่รวมการลดหย่อนอื่นๆ)

เกิดอะไรขึ้นหากประมาณการกำไรสุทธิไว้ต่ำเกินไป

ในกรณีนี้หากเจ้าของธุรกิจประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีขาดไปเกินร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ชำระขาดไปตอนรอบครึ่งปี  แต่ยังไม่ต้องตกใจไป เพราะตรงนี้กำไรสุทธิอาจคลาดเคลื่อนไปอย่างมากจากที่ประมาณไว้ ด้วยเหตุสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นกรมสรรพากรจึงได้มีการอนุโลมให้ บริษัทที่ได้ยื่นเสียภาษีรอบครึ่งปี ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วให้ถือว่าการประมาณการดังกล่าวมีเหตุอันสมควรไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ยกตัวอย่างกรณีนี้ เช่น บริษัท A ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) โดยประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีไว้ จำนวน 4,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ จำนวน 6,000,000 บาท บริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 51 ต่ำกว่ากำไร สุทธิจริงที่ได้ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไปจำนวน 2,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าบริษัทได้ประมาณการขาดไปเกินกว่าร้อย ละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 ดังนั้นบริษัท A จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของภาษีที่ได้ชำระไว้ขาดไป ซึ่งคำนวณได้ดังนี้

  1. 1. กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 6,000,000 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิของ บริษัท = 3,000,000 บาท
  2. คำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมภาษีที่ คำนวณได้ = 3,000,000x20% = 600,000 บาท
  3. ดังนั้นภาษีที่ยื่นขาดไปจำนวน (600,000 – 400,000) = 200,000 บาท มีผลให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป = (200,000x 20%) คือ = 40,000 บาท

อย่างไรก็ตาม หากรอบบัญชีก่อนหน้า บริษัท A  มีกำไรสุทธิ 3,000,000 บาท กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในปีนี้คือ 2,000,000 บาท ก็จะมากกว่ากึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิในรอบบัญชีก่อนหน้า ดังนั้นบริษัท A จึงไม่ต้องเสียค่าปรับแต่อย่างใด  

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



อ้างอิง : กรมสรรพากร 

 410
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์