ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร


ลูกหนี้กรรมการคืออะไร

บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการนั้นมีได้หลายแบบ เช่น

  • กรรมการยืมเงินออกไปจากกิจการจริงๆ
  • กรรมการนำเงินภายในกิจการไปใช้ส่วนตัว
  • จดทะเบียนบริษัท ระบุทุนชำระจำนวนมากแต่ไม่มีการชำระเงินกันจริง
  • เงินหายจากบริษัทสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี หรือไม่ทราบสาเหตุ
  • ปิดบัญชีไม่ลงตัว นักบัญชีจึงบันทึกผลต่างในบัญชีนี้ก่อน
  • ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรไม่ยอมรับ จึงบันทึกไว้ในเงินให้กู้ยืมกรรมการ

ถ้าลองวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการแล้วจะพบว่า ถ้าเป็นการที่กรรมการยืมเงินไปใช้จริงๆ เราคงพอรับได้เพราะมันเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แต่ต้น แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวมา อาจจะต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า ทุกวันนี้เราแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและเงินธุรกิจกันอย่างไร เพราะเมื่อไรก็ตามที่ยังแยกกระเป๋าไม่ได้ บัญชีลูกหนี้กรรมการก็จะเกิดขึ้นในงบการเงินอยู่เสมอ

นอกจากนี้แล้วเรื่องความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารที่ใช้สำหรับการบันทึกรายการจ่ายชำระเงิน ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องระวัง เพราะถ้าเราไม่ให้ข้อมูลแก่นักบัญชีให้ครบถ้วน เงินที่หายไปจากบัญชีอาจถูกเหมารวมว่าเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการทั้งหมด

ที่จึงเป็นที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงตกเป็นลูกหนี้บริษัท ด้วยจำนวนเงินก้อนโต

ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี บัญชีนี้อาจสร้างปัญหาให้เราในอนาคต เช่น ทำให้งบการเงินไม่ถูกต้อง ไม่สะท้อนสภาพความเป็นจริงของกิจการ และภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ธุรกิจเฉพาะที่กิจการต้องจ่าย เพราะกฎหมายกำหนดภาษี ไม่ยอมให้กิจการจะให้กู้แบบฟรีๆ โดยไม่มีดอกเบี้ยระหว่างกัน


ขอบคุณที่มา : zerotoprofit.co

 568
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เช็คเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ให้คุณประโยชน์ต่อการทำธุรกิจมาก แต่สิ่งนี้จะมีโทษมากกว่าหากผู้ประกอบการขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน
การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี  
ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ
สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า บัญชีย่อยเจ้าหนี้จะมียอดรวมตรงกับบัญชีคุมยอดเจ้าหนี้การค้า...

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์