ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่

การที่ผู้ประกอบการใช้บริการโปรแกรมบัญชี ทำบัญชี/ออกเอกสาร/ซื้อ-ขาย/บันทึกรายการบัญชี/จำทำระบบบัญชีที่ดี หรือแม้กระทั่งดูสรุปข้อมูลต่างๆเองได้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องจ้างนักบัญชี หรือสำนักงานบัญชีในการตรวจสอบความถูฏต้อง ซึ่งการปิดงบนั้นจำเป็นต้องให้นักบัญชีที่รับทำบัญชี หรือสำนักงานบัญชีที่มีความหมายเชี่ยวชาญในการจัดการ เพราะตามระเบียบของกรมสรรพากรกำหนดให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี ต้องแยกออกระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้ทำเอกสารของบัญชี การออกเอกสารใบกำกับภาษี/ออกบิล/ใบเสร็จรับเงิน/จ่ายเงิน/เก็บเอกสาร/รวบรวมเอกสารต่างๆ/ยื่น ภพ.30 และภงด.ต่างๆ ผู้ประกอบการสามารถทำได้เองจบสาขาอะไรก็ทำได้  แต่งานบัญชี/ทำงบการเงินจำเป็นต้องเป็นผู้ทำบัญชีเท่านั้น

ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. จลปริญญาหรืออนุปริญญาทางบัญชี
  2. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ
  3. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  4. อบรมความรู้ต่อเนื่องด้านวิชาชีพทุกๆปีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี

ระดับอนุปริญญาหรือปวส.ทางด้านบัญชีรับทำบัญชีให้กับธุรกิจประเภท ก.ได้โดยจำกัดทะเบียนของกิจการไม่เกิน5 ล้านบาท สินทรัพย์และรายได้อย่างละไม่เกิน 30 ล้านบาท

หน้าที่ของผู้ทำบัญชี

  • จัดทำบัญชี

หน้าที่แรกเลย คือการจัดทำบัญชีทั้งจัดทำงบการเงินต่างๆ บัญชีรายรับ-รายจ่าย งบกำไรขาดทุนหรืออื่นๆมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องรู้เรื่องการเงินในบริษัทนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น วางแผนธุรกิจ วางแผนทางการตลาด และอื่นๆต่อไป

  • ยื่นแบบประจำเดือน/ประจำปี

การยื่นแบบประจำเดือน เช่น ภพ.30 ภงด.1 ภงด.51 ภงด.53 เงินสมทบประกันสังคม หรือแบบอื่นที่จำเป็นต้องยื่นให้กรมสรรพากรรวมถึงแบบประจำปี อย่างการจัดทำงบการเงินที่ต้องส่งให้กระทวงพาณิชย์ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเป็นต้องให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี

  • ให้คำปรึกษาทางด้านบัญชี

ให้คำปรึกษา/ ให้คำแนะนำในการจัดการภาษีหรือคำแนะนำอื่นๆที่ทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายกับการจัดารด้านบัญชีและภาษีน้อยที่สุดเพราะในการจัดการบัญชีภาษี มีเรื่องของกฎหมายเข้ามาด้วย


ที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ 

 869
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
เงินฝากธนาคาร (Bank Commercial) 5 ประเภท มี กี่ แบบ อะไรบ้าง 
เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง
แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือเอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์