สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี ที่ผู้ทำบัญชี SMEs ควรรู้


ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี   

แต่ไม่ต้องกลัว บทความนี้เราได้สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และหลักการทางภาษีสําหรับกิจการ SMEs ทั่วไป หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) มาไว้ให้แบบย่อๆ เพื่อผู้ทำบัญชีทุกท่านให้มองเห็นภาพรวมของความแตกต่าง สำหรับแต่ละรายการในงบการเงินได้ง่ายขึ้นค่ะ

สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี VS หลักการทางภาษีสำหรับกิจการ NPAEs

1. เรื่องทั่วไป ในที่นี้เราพูดถึงภาพรวมของงบการเงิน หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชี หรือว่าเปลี่ยนประมาณการทางบัญชี สิ่งที่ต้องทำตามมาตรฐาน คือ ปรับปรุงรายการ และเปิดเผยในงบการเงิน ส่วนทางภาษีนั้นยุ่งยากหน่อยตรงที่ว่า บางเรื่องต้องขออนุมัติจากสรรพากร และต้องแก้ไข ภงด.50 ที่เคยยื่นไปย้อนหลังนะคะ



2. งบแสดงฐานะการเงิน
ในงบแสดงฐานะทางการเงิน มีหลากหลายหัวข้อที่แตกต่างกันระหว่างบัญชีและภาษี เช่น การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ การตั้งสำรองค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ การตีราคาเงินลงทุน การคิดต้นทุนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมถึงการคิดค่าเสื่อม ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ






3. งบกำไรขาดทุน ตัวอย่างขอข้อแตกต่างระหว่างบัญชีและภาษีที่เห็นได้ชัดของงบกำไรขาดทุน เช่น การรับรู้ต้นทุนการกู้ยืม การรับรู้สัญญาเช่าดำเนินงานและการเงิน ประมาณการหนี้สินต่างๆ การรับรู้รายได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น สัญญาก่อสร้าง การขายอสังหาริมทรัพย์ ลองมาดูสรุป เรื่องสำคัญๆ ตามตารางนี้กันเลยค่ะ







ความแตกต่างทางบัญชีและภาษี ถ้าศึกษาดีๆ แล้วแตกต่างกันในหลายๆ จุดเลยค่ะ หากอยากเข้าใจมากยิ่งขึ้น แนะนำว่าลองประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง และหมั่นทบทวนความรู้อยู่เรื่อยๆ ก่อนที่จะถึงเวลาคำนวณภาษีตอนปลายปี หรือลองเข้าอบรมในคอร์ส “สรุปข้อแตกต่างทางบัญชี และภาษี สําหรับกิจการ NPAEs”  เพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นค่ะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


ที่มา : thaicpdathome.com
 1682
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ
เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์