ความสำคัญของการลงทุน และความสำคัญของงบการเงิน (งบดุล) คืออะไร

ความสำคัญของการลงทุน และความสำคัญของงบการเงิน (งบดุล) คืออะไร



นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายใน
บการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้

1. งบแสดงฐานะการเงิน หรือ งบดุล (Balance Sheet) สามารถระบุถึงความมั่งคั่งของสินทรัพย์ หากบริษัทไหนมีโครงสร้างของงบดุลที่แข็งแรง สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงในระยะยาว
สินทรัพย์ จะแบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินได้ใน 1 ปี โดยหลัการ คือ เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ใช้เวลาแปลงเป็นเงินมากกว่า 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

หนี้สิน ตามหลักบัญชีแล้ว จะแบ่งออกเป็นหนี้สินหมุนเวียนกับ เป็นหนี้สินที่ต้องใช้ใน 1 ปี กับ หนี้สินไม่หมุนเวียนที่เป็นหนี้สินที่ชำระตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป เมื่อแบ่งชนิดของสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนแล้ว เราจะสามารถมองเห็นถึงสภาพคล่องของบริษัท เพราะธุรกิจควรมีสินทรัพย์หมุนเวียน (เงินสดหรือลูกหนี้) มากกว่าหนี้สินระยะสั้น (เงินกู้ระยะสั้นที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี)

ส่วนของเจ้าของ กำไรสะสม เป็นเงินทุนเริ่มแรกบวกกับกำไรสุทธิที่เกิดจากการทำมาหากินของบริษัท ตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทจนถึงปัจจุบัน หากบริษัทมีกำไรสะสมมาก ก็แสดงถึงสามารถในการทำมาหากินที่มีประสิทธิภาพและโอกาสในการปันผลสูง

หากต้องการทราบถึงความมั่นคงของกิจการ สามารถดูจากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หากธุรกิจมีหนี้สินจำนวนมากแต่ส่วนของเจ้าของน้อยจะถือว่าไม่ดี ยิ่ง “หนี้น้อยส่วนของทุนหนา” ก็จะยิ่งดูดี ดังนั้นอัตราส่วนนี้จะต้องไม่เกิน 2 เท่า

2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement) สามารถระบุถึงผลการดำเนินงานของบริษัท โดยเราต้องการหุ้นที่ รายได้เพิ่มต่อเนื่องหรือไม่ หรือมีกำไรเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด เราจะต้องคำนึงถึงทั้ง รายได้ และ กำไรสุทธิ ซึ่งทั้งสองตัวเลขนี้ ต้องเป็นบวกและควรจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือไตรมาสที่แล้ว และโฟกัสไปที่ ค่าใช้จ่าย ของบริษัทด้วย ว่ามีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการขายและบริหารลดลงหรือไม่ สุดท้ายนี้การจะมีกำไรสุทธิเพิ่มควรจะมาจาก รายได้เพิ่ม ไม่ควรมาจากการลดต้นทุนเพียงอย่างเดียวเพราะจะเป็นการเพิ่มกำไรที่ไม่ยั่งยืน

3. งบกระแสเงินสด  ทำให้รูุ้ถึงสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ทำให้บริษัทสามารถใช้ในการวางแผนการเงินในอนาคตเนื่องจากงบกระแสเงินสดจะแสดงให้ทราบถึงที่มาที่ไปของเงินสดว่า บริษัทได้รับ หรือ จะต้องจ่ายเงินสดจากแหล่งใด เป็นจำนวนเท่าใด

4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ใช้ดูขยายความรายการต่างๆของงบที่พูดมาด้านบน รวมถึงดูคดีความฟ้องร้อง และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

5. รายงานของผู้สอบบัญชี   งบการเงินจะต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นผู้แสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตรวจสอบว่า งบการเงินนั้นถูกต้องตามควรในสาระสำคัญ และได้จัดทำตามมาตราฐานการรายงานทางการเงินหรือไม่ มีข้อบ่งชี้ในเรื่องความผิดปกติที่ผู้วิเคราะห์งบการเงินควรให้ความสนใจเป็นพิเศษหรือไม่

โดยปกติแล้วหากเราจะทำงบการเงินที่เก็บตัวเลขมาลงใน excel จะทำให้เกิดความผิดพลาดสูง ดังนัั้นองค์กรควรมองเห็นความสำคัญกับซอฟต์แวร์บัญชี #Winspeed ในการทำงบการเงินเพื่อความถูกต้อง  

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 917
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่าและเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์