การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร

การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร


การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT

เมื่อไรกิจการต้องมี การเฉลี่ยภาษีซื้อ

เมื่อกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ประกอบธุรกิจ VAT และ NON VAT  ไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดจึงต้อง “เฉลี่ยภาษีซื้อ” ตามสัดส่วนของธุรกิจที่นำภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้

การเฉลี่ยภาษีซื้อ มีวิธีใดบ้าง

1.การเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามส่วนของรายได้ โดยการประมาณการสัดส่วนของรายได้ที่จะเกิดขึ้นทั้งปี แล้วทำการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วน เช่น ภาษีซื้อค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่ง สำนักงาน หรือวัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น และภาษีซื้อค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา หรือค่าซ่อมแซม เป็นต้น

2.การเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามพื้นที่การใช้อาคาร โดยการประมาณการสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารแล้วทำการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วน เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการ VAT และ NON VAT เป็นต้น

อย่างไรก็ตามทั้ง 2 วิธีข้างต้นเป็นการประมาณการสัดส่วนเพื่อ การเฉลี่ยภาษีซื้อ จึงมีโอกาสที่สัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงจะแตกต่างจากที่ประมาณการ ซึ่งส่งผลให้กิจการต้องปรับปรุงภาษีซื้อและอาจทำให้กิจการต้องเสียภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น การเฉลี่ยภาษีซื้อ จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกกิจการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และมักจะสร้างปัญหาในทางปฏิบัติต่อกิจการอยู่เสมอ เนื่องจากหลักเกณฑ์ใน การเฉลี่ยภาษีซื้อ ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน กิจการจึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เพราะอาจจะต้องรับผิดชอบเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ อีกประการหนึ่ง หากกิจการเกิดปัญหาในทางปฏิบัติจนหาทางออกไม่ได้ เจ้าหน้าที่สรรพากรในพื้นที่ที่กิจการตั้งอยู่น่าจะให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะแก่กิจการได้เป็นอย่างดี 

รายได้ที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ต้องนำมารวมใน การเฉลี่ยภาษีซื้อ

(ก) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ หรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น แต่ทั้งนี้ไม่ใช้บังคับสำหรับการประกอบกิจการตามมาตรา 91/2(1)(2) และ (3) แห่งประมวลรัษฎากร –– รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

(ข) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการกู้ยืมเงินกันเองในระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน – รายได้เงินกู้ยืมบริษัทในเครือเดียวกัน

(ค) รายได้ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ – รายได้กองทุนเงินกู้ยืมสวัสดิการ

(ง) รายได้ที่เกิดขึ้นจากกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการประกอบกิจการประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร”



ที่มา : กรมสรรพากร/www.beeaccountant.com
 229
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์