ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร? และควรคำนึงถึงอะไรในการทำตรายาง?

ตรายางบริษัท คืออะไร?

ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  

ตรายางบริษัท สำคัญอย่างไร? 

ตรายางบริษัท มีส่วนช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำสัญญา ทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ ทั้งยังมีควาเป็นสากล เป็นที่ยอมรับ และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารได้ดีกว่าการใช้ลายมือชื่ออีกด้วย 

หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัท

การทำตรายางบริษัทมีหลักเกณฑ์และข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม ดังนี้  

  1. ตรายางบริษัทต้องมีโลโก้บริษัท แต่อาจจะมีหรือไม่มีชื่อบริษัทก็ได้
  2. ในกรณีที่ตรายางมีชื่อบริษัท สามารถใช้ได้ทั้งชื่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ *แต่ต้องเป็นชื่อที่ตรงกับชื่อที่ขอยื่นจดทะเบียนบริษัท 
  3. ตรายางบริษัทสำหรับนิติบุคคล หากใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาอังกฤษ ต้องมีการระบุประเภทของนิติบุคคลด้วย เช่น Company Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Co.,Ltd และ Corporation Limited หรือใช้ตัวย่อว่า Corp.,Ltd ส่วนภาษาไทยใช้คำว่า บริษัท…จำกัด (แบบเต็ม)
  4. ตรายางบริษัทสำหรับห้างหุ้นส่วน หากใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ต้องระบุว่าเป็น Limited Partnership ส่วนภาษาไทยให้ใช้คำว่า ห้างหุ้นส่วน…จำกัด
  5. หมึกสำหรับใช้กับตรายางบริษัทไม่ควรเป็นสีดำ เพราะจะทำให้แยกไม่ออกว่าเป็นเอกสารฉบับจริง หรือเป็นสำเนา 
  6. ตรายางบริษัท ต้องไม่มีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย ดังนี้
  • เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์, พระบรมราชาภิไธย, พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล และพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระอัครมเหสี หรือสมเด็จพระยุพราช
  • พระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช
  • พระมหามงกุฎ, มงกุฎขัตติยราชนารี หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงกับมงกุฎ
  • ฉัตรต่างๆ อันเป็นลักษณะของเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ, ตราแผ่นดิน, ตราราชการ, ตราครุฑพ่าห์ธงหลวง ธงชาติ หรือธงราชการ 
  • พระราชลัญจกร และลัญจกรในราชการ (ลัญจกร หมายถึง ตราประทับ)
  • ชื่อ หรือเครื่องหมายกาชาด, เครื่องหมายราชการ และสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เช่น ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ ศาลาไทย

สรุปแล้ว ‘ตรายางบริษัท’ ใช้เพื่อเป็นตัวแทนบริษัทในการจดทะเบียนบริษัท การรับรองเอกสาร การทำสัญญา การทำธุรกรรม และนิติกรรม แม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับว่าต้องมี แต่ตรายางบริษัทจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ มีความเป็นสากล และช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งการทำตรายางสามารถสั่งผลิตได้หลากหลายรูปแบบ แต่ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับทางกฎหมาย หากต้องการทำตรายางบริษัท ก็อย่าลืมเลือกผู้ให้บริการที่ไว้ใจได้ หรือผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญ และรู้หลักเกณฑ์ในการทำตรายางบริษัทเป็นอย่างดี 



ขอบคุณที่มา : www.ofm.co.th

 162
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดมูลค่าลูกหนี้ เมื่อกิจการขายสินค้าและบริการควรจะรับรู้รายการและบันทึกบัญชีลูกหนี้ ณ วันใดด้วยจำนวนเงินเท่าใดขึ้นอยู่กับกำหนดเวลาที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการและมูลค่าที่จะเกิดกับลูกค้าดูได้จากเอกสารคือใบกำกับสินค้า ในการกำหนดมูลค่าลูกหนี้ที่จะบันทึกควรพิจารณาถึงส่วนลด (Discounts) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
คำว่า audit คืออะไร ในบางมุมคนอาจแทนความหมายของ audit เป็นอาชีพ ซึ่งหมายถึงอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งอาชีพ audit นั้นสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายประเภท หรือในบางมุมหากมองว่า audit คือการกระทำ คำว่า audit จะมีความหมายว่า การตรวจสอบซึ่งก็สามารถแบ่งได้ออกเป็นอีกหลายประเภทเช่น
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์