4 รายการบัญชีที่ขาดไม่ได้สำหรับคนทำบัญชีด้วยตัวเอง

4 รายการบัญชีที่ขาดไม่ได้สำหรับคนทำบัญชีด้วยตัวเอง


การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง

สำหรับธุรกิจ SME ทั่วไปการจ้างนักบัญชีเข้ามาช่วยทำบัญชีอาจเป็นการสร้างภาระด้านการเงินให้กับธุรกิจของตัวเองพอสมควร ดังนั้นทางออกของธุรกิจ SME ก็คือการใช้งานโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำการบันทึกบัญชีเบื้องต้นของกิจการที่จะทำให้คุณทราบถึงผลกำไร ขาดทุน การเข้าออกของเงิน หากคุณต้องการจะทำบัญชีด้วยตนเองผ่านโปรแกรมบัญชี คุณจะต้องจำไว้ว่า 4 รายการบัญชีต่อไปนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เพราะคุณจะต้องระมัดระวัง ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลัก และมาตรฐานการทำบัญชี ดังนี้

1.รายการภาษีรายเดือน การทำธุรกิจโดยเฉพาะในรูปแบบของนิติบุคคล และการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเป็นจะต้องทำรายงานเกี่ยวกับภาษี แล้วนำไปยื่นแบบภาษีของแต่ละประเภท เช่น ภ.พ. 30, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53, ภ.ง.ด.1 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนและค่าจ้าง และประกันสังคม

2.ภ.ง.ด. 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี แบบแสดงภาษีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลครึ่งปี ใช้สำหรับคนที่เปิดบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยคิดจากผลกำไรสุทธิ และทำการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการประเมินจากกำไรสุทธิ

3.ภ.ง.ด.50 ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี แบบแสดงภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประจำปี ใช้สำหรับคนที่ทำการเปิดบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เพื่อนำไปเสียภาษีเงินได้ โดยคิดจากการนำรายได้หักรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ในแต่ละรอบเวลาบัญชีซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิที่กฎหมายกำหนด

4.รายงานงบการเงิน 1 ปี การจัดทำงบการเงินสำหรับ 1 ปีถือเป็นเรื่องที่ยากสำหรับมือใหม่อยู่ไม่น้อย เพราะการทำงานในส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีความรู้ความชำนาญในเรื่องของการทำบัญชี และภาษีอยู่พอสมควร ถึงจะทำงานในส่วนนี้ให้ออกมาถูกต้องได้
 139
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ดังนั้นลักษณะของป้ายที่เสียภาษี ? ก็คงเป็นป้ายที่เกี่ยวกับการค้าหรือกิจการหารายได้ต่างๆนั้นเอง
ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์