ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด

ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด


ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด มีข้อแตกต่างกันดังนี้


1. การก่อตั้ง

  - นิติบุคคลอาคารชุด : กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย     
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
 
2. วัตถุประสงค์

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  กิจกรรมเพื่อดูแลทรัพย์ส่วนกลาง ไม่มุ่งค้าหากำไร 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  กิจกรรมการค้าเพื่อมุ่งค้าหากำไร 
 
3. ผู้ก่อตั้ง

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  เมื่อมีเจ้าของร่วมมากกว่า 1 รายในอาคารชุด
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ผู้ก่อการ 7 ท่าน
 
4. ผู้เป็นเจ้าของ

   - นิติบุคคลอาคารชุด :  เจ้าของร่วมทั้งหมด ในอาคารชุด 
   - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ 

5. ผู้มีอำนาจผูกพันธ์

   - นิติบุคคลอาคารชุด : ผู้จัดการนิติบุคคล (เลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่)
   
- นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : กรรมการผู้จัดการ หรือ กรรมการ ที่บริษัทฯ กำหนด
 
6. ผู้บริหาร

   - นิติบุคคลอาคารชุด :  กรรมการอาคารชุด (เลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่)
- นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  กรรมการบริษัทฯ
 
7. ด้านภาษี

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ไม่ต้องยื่นภาษีประจำปี 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ต้องยื่นภาษีประจำปี 

8. ด้านบัญชี /การเงิน

  - นิติบุคคลอาคารชุด : รับรองงบดุล/ บัญชี โดยที่ประชุมใหญ่ ไม่ต้องส่งงบดุลให้กับหน่วยงานภาครัฐ 
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด : ตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบรับอนุญาติ ส่งงบดุลให้กับหน่วยงานภาครัฐ 

9. การบริหารการเงิน

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  ตามนโยบายคณะกรรมการ และข้อบังคับ
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ตามนโยบายของผู้บริหาร
 
10. กฎหมายหลักที่บังคับใช้

  - นิติบุคคลอาคารชุด :  พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2551  (ฉบับที่4 )  
  - นิติบุคคลบริษัทฯ จำกัด :  ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : www.thaicondoonline.com
ประกาศบทความโดย : http://www.prosmes.com
 652
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี
"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์