เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง

เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง



เปลี่ยนสำนักงานบัญชี
 
เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้

1. ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืน

โดยปกติผู้ประกอบการจะส่งเอกสารบิลซื้อและขายตัวจริงให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อไปดำเนินการบันทึกบัญชี ดังนั้นเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีตัวจริงทั้งหมดเราจะต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีกลับมาให้หมด ซึ่งกฏหมายกำหนดเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5ปี ได้แก่

  • บิลซื้อ บิลขาย (เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี)
  • แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30 ภ.ง.ด. 50, 51)
  • แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

หมายเหตุ: สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่ จะทำใบสำคัญการลงบัญชี
พร้อมแนบเอกสาร จัดเป็นแฟ้มและส่งคืนลูกค้าทุกปีอยู่แล้ว

2.ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี

ข้อมูลการบันทึกบัญชีที่สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้เรา ได้แก่

  • งบทดลอง (TB)
  • สมุดรายวันแยกประเภท (GL)
  • สมุดรายวันเฉพาะ (สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน)
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนลูกหนี้ ทะเบียนเจ้าหนี้
  • และรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือฝั่งสินทรัพย์และหนี้สิน

โดยปกติเมื่อเราเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เราจะต้องให้เวลาสำนักงานบัญชีเก่าในการปิดบัญชีเพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับสำนักงานบัญชีใหม่ การปิดบัญชีอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือนในการส่งต่อข้อมูลไปให้กับสำนักงานบัญชีใหม่

3. ขอรหัสผ่านต่างๆ

  • รหัสผ่าน DBD e-Filing
  • รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
  • รหัสผ่านทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตประกันสังคม

ช่วงที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี คือ ตอนเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : onesiri-acc.com

 3559
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร
มาดูกันนะคะว่า ในการประกอบธุรกิจ จะมีประเด็นความเสี่ยงและแนวทางการป้องกันอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจควรระวัง เพื่อไม่ให้เกิดกับธุรกิจตัวเองค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์