ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ในช่วงนี้ (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนที่มีเงินได้ต้องยื่นเสียภาษี สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ อาจมีข้อสงสัยว่า ภาษีคำนวณอย่างไร แล้วเมื่อไรที่เราจะต้องเริ่มเสียภาษี มาดูกันค่ะ


ภาษีคำนวณอย่างไร

            กฎหมายระบุไว้ว่าบุคคลที่มีเงินได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามฐานภาษีแบบขั้นบันได โดยเงินได้สุทธิที่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนั้น เป็นดังนี้
   

เงินได้สุทธิ     =    เงินได้พึงประเมินทั้งปี - ค่าใช้จ่าย (ตามกฎหมายกำหนด) - ค่าลดหย่อน


เมื่อทราบยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได ดังนี้

 ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่  ช่วงเงินได้สุทธิแต่ละขั้น อัตราภาษี (ร้อยละ)
 ภาษีแต่ละขั้น
 0-150,000 บาท  150,000 บาท  ได้รับยกเว้น  -
 150,001-300,000 บาท  150,000 บาท 5  7,500 บาท
 300,001-500,000 บาท  200,000 บาท 10  20,000 บาท
 500,001-750,000 บาท  250,000 บาท 15  37,500 บาท
 750,001-1,000,000 บาท  250,000 บาท  20  50,000 บาท
 1,000,001-2,000,000 บาท  1,000,000 บาท  25  250,000 บาท
 2,000,001-4,000,000 บาท  2,000,000 บาท  30  600,000 บาท
 4,000,001 บาทขึ้นไป    35  


รายได้เท่าไรจึงเริ่มเสียภาษี

            การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้พึงประเมินทั้งปีเท่ากับ 240,000 บาท (รายได้เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท) จะยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยการคำนวณเป็นดังนี้

            เงินได้พึงประเมินทั้งปี                                                                    240,000    บาท
            หัก ค่าใช้จ่าย (ร้อยละ 40 ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท)    (60,000)    บาท
            หัก ค่าลดหย่อนส่วนตัว                                                                  (30,000)    บาท
            เงินได้สุทธิ                                                                                 150,000    บาท

            เมื่อเงินได้สุทธิอยู่ที่ 150,000 บาท ซึ่งอยู่ในช่วงขั้นเงินได้สุทธิที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ทำให้ยังไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้มีเงินได้ที่เริ่มเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็คือ ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 20,000 บาท นั่นเอง
 

            อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณภาษีแล้ว ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม แต่หากมีเงินได้พึงประเมินถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด อย่างเช่น ผู้ที่ทำงานประจำกินเงินเดือน หากมีรายได้เกิน 50,000 บาท ก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ โดยยื่นภายใน 31 มีนาคมของปีถัดไปนะคะ


 1257
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ในบทความนี้ เราจึงมีคำแนะนำดีๆ และเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปสำหรับสำนักงานบัญชี และนักบัญชีมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการการบันทึกบัญชี เก็บรวบรวมเอกสาร สร้างรายงานที่สำคัญ รวมไปถึงการยื่นภาษี และปิดงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย
ยื่นภาษีย้อนหลัง ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เช็กเลยมีอะไรบ้าง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์