ความสำคัญของ IT Audit ในยุคดิจิทัล

ความสำคัญของ IT Audit ในยุคดิจิทัล


“ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
?”

ปัจจุบันถ้ากล่าวถึงผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information System Auditor)  หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าอาชีพนี้มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง

ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยประเภทหลักๆ

1.ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอิสระหรือภายนอก (External IS Auditor)
2.ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายใน (Internal IS Auditor)
3.ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกรณีพิเศษ (Special IS Auditor)



“ความสำคัญของ IT Audit ในยุคดิจิทัล” ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสำคัญของหน่วยงาน ที่จะช่วยนำองค์กรบรรลุเป้าหมายขององค์กร

“สิ่งสำคัญของผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยี”

       ทักษะและความรู้ (Skill and Knowledge)
ของผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศถือว่าเป็นส่วนสำคัญมาก



“ผู้ตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นต้องมีประกอบด้วย 2 ส่วน”

1.ความรู้ (Knowledge)
ความรู้ที่จำเป็นต้องมี เช่น วิสัยทัศน์ขององค์กร, กระบวนการตรวจสอบทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารความเสี่ยง, กระบวนการทางธุรกิจ,  ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสารสนเทศ,การวิเคราะห์เชิงทำนาย, ปัญญาประดิษฐ์

2.ทักษะ (Skill)

ทักษะที่จำเป็นต้องมี เช่น ทักษะทางด้านการคิดและการใช้เหตุผล,ทักษะด้านอารมณ์ ความรู้สึก, ทักษะด้านภาษา, ทักษะในการแสวงหาความรู้, ทักษะด้านการจัดการ, ทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ, ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น, การติดต่อสื่อสาร และการเขียน/อ่าน เอกสารและรายงาน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ขอบคุณบทความจาก : www.spu.ac.th 
 925
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจะเข้าสู่วงจรธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ประเด็นแรกๆ ที่ควรให้ความสำคัญ คือจะทำธุรกิจแบบ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
การยื่นภาษีและภาษีที่ต้องเสียแต่ละประเภท เมื่อเกิดความล่าช้าหรือเกินกำหนด จะมี "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่าปรับทางอาญาด้วย โดยสามารถอธิบายเจาะลึกได้ดังนี้
การจัดการการเงินของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย, ใบเสร็จและสเปรดชีตของรายได้ จำเป็นต้องใช้วิธีต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งถ้าหากไม่รอบคอบอาจมีความเสี่ยงทำให้ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยซอฟต์แวร์หรือระบบบัญชีที่ถูกต้อง โดยการจัดเตรียมไฟล์บัญชีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเสียภาษี ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาพึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีเพราะมันสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากมายดังต่อไปนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์