5 รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยตรง

5 รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยตรง


โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น

ปัญหาของรายได้อื่นซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดจากผลพลอยได้จากการประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่การประกอบธุรกิจโดยตรง เป็นรายได้ทางอ้อม เช่น

1. กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน

เมื่อกิจการได้มีการนำทรัพย์สินออกจำหน่าย จะต้องนำมูลค่าตามบัญชีของทรัพย์สิน (Book Value) ซึ่งเป็นราคาทุนของทรัพย์สินหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมจนถึงวันจำหน่ายทรัพย์สินนั้น นำมาหักออกจากมูลค่าที่ขายได้  หากมูลค่าที่ขายได้สูงกว่าราคาตามบัญชี ผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน ในทางตรงข้ามหากมูลค่าที่ขายได้ต่ำกว่าราคาตามบัญชี ผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน

2. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

เมื่อกิจการมีผลแตกต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นอันเนื่องจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนในการรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี  เมื่อสิ้นรอบบัญชีกิจการจะต้องแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย โดยเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้ใช้วิธีการคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น

3. ดอกเบี้ยรับ

ดอกเบี้ยรับเป็นรายได้ที่อาจเกิดจากการนำเงินไปฝากธนาคาร การให้กู้ยืมเงิน หรือนำเงินของกิจการไปหาประโยชน์ เช่น นำไปซื้อพันธบัตร นำไปฝากตั๋วสัญญาใช้เงิน  ผลประโยชน์ที่ได้ก็คือ ดอกเบี้ยซึ่งต้องถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม  ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

4. เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร

เมื่อกิจการได้นำเงินไปลงทุนในกิจการอื่น ต่อมากิจการนั้นมีกำไรเกิดขึ้นได้มีการจ่ายเงินปันผล เงินปันผลที่กิจการได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไปแล้วเงินปันผลที่ได้รับจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งกิจการมีสิทธินำไปเครดิตภาษีปลายปีได้ อย่างไรก็ดีเงินปันผลจะยกเว้นไม่ถือเป็นรายได้จะต้องเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

5. ค่าปรับหรือดอกเบี้ยที่ผิดสัญญา

เมื่อกิจการได้มีการขายสินค้า ให้บริการ หรือซื้อสินค้า รับบริการ  แล้วมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากการส่งมอบสินค้าหรือบริการ หรือเกิดการชำระเงินล่าช้า จึงได้มีการคิดค่าปรับ หรือดอกเบี้ยที่ผิดนัดผิดสัญญา  ดอกเบี้ยหรือค่าปรับดังกล่าวต้องนำมาถือเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากไม่ใช่การขายสินค้าหรือบริการ

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : Link

 468
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชี มาจากลูกค้า มาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงาน ทั่วประเทศไทย
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร
โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
เมื่อเอกสารหายก่อนอื่นคือต้องรีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานก่อนไปทำ เอกสารใหม่ที่หน่วยงานเอกสารต้นสังกัดนั้น การติดต่อราชการที่รู้สึกเสียเวลายุ่งยาก ยิ่งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งจะอยู่ในชีวิตของเราอีกนาน ทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกในการติดต่อ แต่ปัจจุบันมี “ระบบแจ้งเอกสารหายออนไลน์” ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องไปโรงพัก เรามาดูการใช้งานระบบใหม่นี้กันนะคะ
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์