เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?

เงินที่กิจการ 'รับมาล่วงหน้า' มีอะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?



ความแตกต่างระหว่าง.. เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ และ เงินจอง

เงินที่กิจการ ‘รับมาล่วงหน้า‘ จากการขายสินค้า หรือให้บริการ

       การประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในบางกิจการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้ามักจะมีการเรียกเก็บเงินบางส่วนจากค่าสินค้าหรือบริการจากลูกค้า ซึ่งเงินบางส่วนที่เรียกเก็บนั้นมักจะมีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เงินล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำ หรือเงินจอง ‘เพื่อเป็นหลักประกันในการซื้อสินค้าหรือบริการในภายหลัง’

เงินล่วงหน้า (Advanced Payment)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการได้จ่ายล่วงหน้าค่าสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ มักจะมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ก่อนทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งอาจะมีการเรียกเก็บในอัตรา 5-15 % ของมูลค่าตามสัญญาหรือข้อตกลง อันเป็นเงื่อนไขว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่กัน

เงินประกัน (Bail)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่กิจการให้ไว้เป็นการรับประกันว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือสัญญา หากผิดเงื่อนไขหรือสัญญาจะมีการชดใช้ค่าเสียหายหรือสัญญา โดยวิธีการริบเงินประกันหรือเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสัญญาหรือข้อตกลง

เงินมัดจำ (Deposit)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่ให้ไว้ ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะมีการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ อันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหลักประกันว่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลง และอาจถือเป็นส่วนหนึ่งในการชำระค่าสินค้าหรือให้บริการ

เงินจอง (Reserve money)

       หมายถึง เงินหรือทรัพย์สินที่จ่ายให้ก่อนที่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงในภายหลัง อันเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่าจะมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่ง ณ วันทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะมีการชำระเงินมัดจำค่าสินค้า หรือค่าบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากเงินจอง อย่างไรก็ดีหากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่มาทำสัญญาหรือข้อตกลงอาจจะถูกริบ หรือยึดเงินจองดังกล่าวได้


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 

แหล่งที่มา : Link

 779
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริจาค ถือเป็นการให้และการเสียสละที่สามารถช่วยเหลือสังคม ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนกิจการสาธารณกุศล สาธารณะประโยชน์ การศึกษา และการกีฬา โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทนนอกจากจะทำให้ผู้ให้มีความสุขแล้ว ยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
จากอดีตถึงปัจจุบันปัญหาที่ทุกองค์กรจะพบคือ ‘การทุจริต’ โดยจะมีบุคคลที่ส่อแววว่าจะทำการทุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก ปัญหาทุจริตจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบระบบภายใน ระบบการเงินอยู่เสมอ เพื่อป้องกันช่องว่างที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นฉวยโอกาส ฉะนั้นเราลองมาดูแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างยั่งยืนและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดกันดีกว่า
มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์