รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล


การลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้

1.การลดหย่อนภาษีในการนำเงินรายจ่ายมาหักออก 2 เท่า

สำหรับนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งมีรายได้จากการขายสินค้า/บริการในรอบปีภาษีนั้นไม่เกินจำนวน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจการมาหักออกเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า ไม่ว่าจะเป็นค่าสอบบัญชี ค่าจัดทำบัญชี โดยสามารถนำค่ารายการเหล่านี้ในเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

2.การลดหย่อนภาษีสำหรับการเพิ่มรายจ่ายในรอบปีภาษีนั้น

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี มีได้หลายรายการ เช่น

1.เงินบริจาคที่ได้บริจาคในนามของนิติบุคคล

2.การจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือ ค่าจ้างนั้นต้องมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน/คน และต้องมีจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น

3.ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานในนิติบุคคลนั้น

4.ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน อันเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการดำเนินหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร แต่ทั้งหมดนี้มีเงื่อนไขว่านิติบุคคลนั้นจะต้องมีสินทรัพย์ถาวรจำนวนไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีจำนวนพนักงานภายในนิติบุคคลไม่เกินจำนวน 200 คน 

การลดหย่อนภาษีสำคัญอย่างไร ?

การเสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งถือว่าเป็น “หน้าที่” ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีเงินได้ จะต้องชำระภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนั้นหากมีการวางแผนการก่อให้เกิดรายจ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง รวมถึงยังสามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักออกจากการคำนวณเงินได้ ตามที่กฎหมายกำหนดยินยอมให้เป็นรายการซึ่งนำมาหักได้แล้ว ก็จะเป็นผลดีต่อผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : LINK

 339
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้
เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้นซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์