• หน้าแรก

  • News

  • บทความบัญชี

  • ค่าน้ำมันรถยนต์พนักงาน ทำอย่างไรบริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงานที่ต้องเสียภาษี

ค่าน้ำมันรถยนต์พนักงาน ทำอย่างไรบริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงานที่ต้องเสียภาษี

  • หน้าแรก

  • News

  • บทความบัญชี

  • ค่าน้ำมันรถยนต์พนักงาน ทำอย่างไรบริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงานที่ต้องเสียภาษี

ค่าน้ำมันรถยนต์พนักงาน ทำอย่างไรบริษัทลงรายจ่ายได้ และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงานที่ต้องเสียภาษี



บริษัทลงรายจ่ายได้

ค่าน้ำมันรถยนต์ที่บริษัทลงรายจ่ายได้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

  1. ต้องเป็นค่าน้ำมันที่เกี่ยวข้องกับกิจการเท่านั้น ต้องมีระเบียบอนุญาตเบิกจ่ายค่าน้ำมัน พร้อมบันทึกการเดินทาง จากที่ไหนไปยังที่ไหน ระยะทาง ชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ถือเป็นรายจ่ายส่วนตัว กิจการจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี
  2. ต้องมีบิลน้ำมัน / ใบกำกับภาษีจากปั๊มน้ำมัน ซึ่งต้องระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์บนใบกำกับภาษี ซึ่งจะพิมพ์ดีด เขียนด้วยหมึก ประทับตรายาง หรือออกด้วยคอมพิวเตอร์ก็ได้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 39 ข้อ 4

พนักงานไม่ถือเป็นเงินได้

ค่าน้ำมันรถยนต์พนักงานไม่ถือเป็นเงินได้ ต้องมีหลักฐาน

พนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) จะต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือ ว่าได้ไปปฏิบัติหน้าของตนเองเพื่อบริษัท ไม่ใช่การนำรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว มีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และมีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน    

ข้อหารือกรมสรรพากร กค 0706/6969

1.บริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯบริษัทฯ มีสิทธินำค่าน้ำมันดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปเกินกว่าจำนวนที่พนักงานของบริษัทฯ ได้จ่ายไปจริง ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

2.กรณีพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จะต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และมีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : 
LINK

 1083
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์