เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสดในภาวะวิกฤต

เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสดในภาวะวิกฤต



การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ

1. ตัดสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้

ในระหว่างนี้อาจจะต้องครอบครองสินทรัพย์เท่าที่จำเป็นเพื่อการอยู่รอด อย่าให้มีกำลังการผลิตว่างเปล่าจากการถือครองสินทรัพย์ที่ใช้ในการผลิต หรือให้บริการเกินความจำเป็น สินทรัพย์ที่ครอบครองอยู่มีค่าใช้จ่ายในการครอบครอง ไม่ว่าการจัดเก็บ ดูแล รักษา หรือภาษี  หากผลตอบแทนไม่คุ้มค่าที่จะเก็บไว้แล้วในระยะยาวอาจจะต้องตัดสินใจตัดไฟแต่ต้นลม แล้วจะรู้ได้อย่างไร  พูดง่ายแต่ทำยาก คือต้องมองไปข้างหน้า แล้วคาดการณ์อนาคตว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในภาพที่วาดไว้ในมุมต่างๆ  และอย่ามองเข้าข้างตัวเอง โลกนี้ช่างโหดร้ายนัก จำไว้

2. อย่าก่อหนี้เพิ่ม ลดหนี้ได้ให้ลด

หนี้ที่มีต้นทุนการเงินสูงให้รีบลดก่อน  เช่น ชำระหนี้คืนด้วยการขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นเพื่อเอากระแสเงินสดมาชำระหนี้ หรืออาจจะต้องยอมเฉือนเนื้อเถือหนัง กัดฟันจ่ายหนี้ไปก่อน แล้วทำตัวสมถะให้ได้มากที่สุด ทำตัวเป็นกบจำศีลเล็กน้อยเพื่อรักษาบาดแผลให้หายดี  คิดง่ายๆ  “ถือสินทรัพย์ไว้ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าต้นทุนการเงินของหนี้ที่มีอยู่”

3. เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย

ลดรายจ่ายคือส่วนที่เราใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการเพิ่มกำไร หรือเพิ่มกระแสเงินสด แต่การลดรายจ่ายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ที่หนักอึ้งนี้  เพราะแม้จะทำตัวสมถะแล้ว แต่กิจการก็ยังต้องมีต้นทุนการดำรงชีพอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่าย  ใครๆ ก็รู้ข้อนี้ แต่การหารายได้ในครั้งนี้ จำเป็นต้องหาช่องทางการหารายได้เพิ่มจากการลงทุน การดำเนินงาน เพราะฉะนั้นย้อนกลับไปข้อ 1, 2  อาจจะไม่ต้องตัดขายสินทรัพย์ หรือใช้วิธีการบริหาร เจรจาหนี้กับเจ้าหนี้เพื่อรักษาสภาพคล่อง  เพราะหากสามารถหาผลตอบแทนจากรายได้ได้มากกว่าต้นทุนการถือครองสินทรัพย์ และต้นทุนการเงิน ก็ย่อมอาจจะยอมได้กับการเป็นหนี้

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ขอบคุณที่มา : dharmniti

 401
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 
ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลายบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว ในบทความนี้ Moneywecan จะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต้นทุนแฝงกันให้มากขึ้นค่ะ
ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์