หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่

หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่

หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น  นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน  นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งาน งบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน



ตัวอย่างรายการที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

1. การรับรู้รายได้
2. เจ้าหนี้การเค้า
3. ลูกหนี้การค้า
4. การตีมูลค่าสินค้าคงเหลือ
5. การตัดค่าเสื่อมราคา

ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
1. ใช้ดูจำนวนลูกหนี้การค้า หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องดูเพราะว่ามีลูกหนี้การค้ามากก็แสดงว่ากิจการขายสินค้าและบริการได้ดี แต่ก็ไม่เสมอไปลูกหนี้การค้าหากมีมากจนผิดสังเกตุอาจะเกิดจากกิจการมีลูกหนี้การค้าที่ขาย สภาพคล่องทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้เกิดผลเสียต่อกิจการ ดังนั้นผู้ใช้งบการเงินควรสังเกตตรงจุดนี้ให้ดีว่า ลูกหนี้การค้าเป็นอย่างไร ขายสินค้าอะไร มีความสามารถในการจ่ายหนี้หรือไม่
2. ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
3. เมื่อผู้ใช้งบการเงินเปรียบเทียบอัตราการทำกำไรกับกิจการคู่แข่งแล้วพบว่า กิจการสามารถทำอัตรากำไรได้มากว่าหรือแตกต่างมากๆ อาจจะมีผลมาจากทั้งสองกิจการมีนโยบายการทำบัญชีที่แตกต่างกัน
4. เมื่อพบว่ากิจการมีรายได้โตขึ้นมากๆ ผู้ใช้งบการเงินต้องตรวจดูว่ากิจการมีนโยบายการรับรู้รายได้แบบใด
5. รายการอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน
 1096
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าใช้จ่าย (Expenses) เป็นคำที่ใช้ในด้านการเงินและการจัดการธุรกิจ หมายถึง ทรัพยากรทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ถูกใช้ไปเพื่อการดำเนินให้ได้มาซึ่งการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการให้เป็นไปอย่างราบรื่น ค่าใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการทางการเงิน เนื่องจากช่วยสะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรและแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
ในปัจจุบัน การบริหารจัดการทางด้านต่อการจัดการการเงินและด้านทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในธุรกิจ และในยุคดิจิตอลนี้ ก็มี software มากมาย ที่เป็นตัวเลือกให้ธุรกิจได้ตัดสินใจเลือกใช้ เพราะแต่ละโปรแกรมก็มี Features แตกต่างกันออกไป หรือบางโปรแกรมก็สามารถทำให้ทั้งสองโปรแกรมนี้ทำงานร่วมกันได้ แล้วจะเลือก โปรแกรมเงินเดือน หรือ โปรแกรมบัญชี อย่างไรให้เหมาะสมธุรกิจของตัวคุณเองล่ะ?  เรามาดูแนวทางกันดีกว่าค่ะ
สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์