sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์กระแสเงินสด
4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์กระแสเงินสด
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์กระแสเงินสด
4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์กระแสเงินสด
ย้อนกลับ
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม
หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
การวิเคราะห์กระแสเงินสดนั้น เราจะ Focus ไปที่เงินสดของกิจการเท่านั้น ซึ่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจนไม่เหมือนกับการวิเคราะห์แบบอื่นๆ ค่ะ
การวิเคราะห์กระแสเงินสด (Cash Flow Analysis) เป็นการวิเคราะห์แหล่งที่มา และแหล่งที่ไปของเงินสด โดย
แหล่งที่มา
คือ การได้รับเงินเข้ามาในบริษัท
ส่วนแหล่งที่ไป
ก็คือ การจ่ายเงินสดออกไป
ซึ่งจะดูทั้งเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ว่ามีการรับมาและจ่ายไปในระหว่างงวดบัญชี ที่ต้องการวิเคราะห์อย่างไร เงินสด ของกิจการที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นได้มาจากแหล่งใด และมีการใช้เงินไปในเรื่องใด เพื่อทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการไหลเวียนของเงินสดในกิจการ
ขั้นตอนในการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่
1. วิเคราะห์แหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินสดจากกิจกรรมทั้ง 3
ขั้นแรกนี้เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมว่า ใน 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมดำเนินงาน, กิจกรรมการลงทุน, และกิจกรรมจัดหาเงิน เราได้เงินสดมา และใช้เงินสดไปกับกิจกรรมใดเป็นหลัก
ที่สำคัญเราต้องดูว่า กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน มีค่าเป็นบวก และเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในกิจการหรือไม่ หากเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบหรืออาจจะมีน้อยไป ซึ่งถ้าเทียบกับกิจกรรมการลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงินอาจจะไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ ถ้าเป็นเช่นนี้ ผู้บริหารจะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารหรือไม่ หรือต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะบริหารกระแสเงินสดที่มีให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง
2. วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ส่วนใหญ่มักจะมีที่มาที่ไปจากธุรกิจหลัก คือ การขายสินค้า ซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าแรงพนักงาน เป็นต้น ใครๆ ก็อยากมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกใช่ไหมคะ
การวิเคราะห์กระแสเงินสดในกิจกรรมนี้ ต้องดูว่าเงินสดที่ได้มามีองค์ประกอบสำคัญมาจากรายการใด กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่ากำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน และมีสาเหตุมาจากอะไร เช่น หากกำไรเยอะๆ ในงบกำไรขาดทุน แต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานน้อยมาก แสดงว่าเราอาจจะยังบริหารเงินสดได้ไม่ดีพอค่ะ
3. วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (CFI)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ซื้อที่ดินเพิ่ม สร้างโรงงานเพิ่ม นี่ก็เป็นสาเหตุทำให้กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนติดลบ
การติดลบของกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนนั้นไม่ได้เลวร้ายเสมอไป หากเรามีแผนงานรองรับในอนาคต เช่น การขยายโรงงานเพิ่มต้องลงทุนเยอะๆ ในปีนี้ และคาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้จากกิจกรรมดำเนินงานในอนาคต 2 เท่า
การวิเคราะห์กระแสเงินสดในกิจกรรมการลงทุน ต้องรู้ว่ากระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกหรือลบ มีองค์ประกอบสำคัญมาจากรายการใด และคาดหวังว่าในอนาคตจะได้ผลตอบแทนอย่างไร
4. วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF)
การจัดหาเงินอาจมาจากการกู้เงิน หรือการเพิ่มทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหากกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่สามคือจะต้องมีดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น และสำหรับการเพิ่มทุน จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นคาดหวังที่จะได้รับเงินปันผล ดังนั้นกิจการต้องแพลนว่าการจัดหาเงินด้วยวิธีใด คุ้มค่า และเหมาะสำหรับกิจการ
การวิเคราะห์กระแสเงินสดกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ให้ดูว่ามีองค์ประกอบสำคัญมาจากรายการใด หากกิจการมีการจัดหาเงินได้มาก กิจการมีแผนที่จะจัดการกับต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นอย่างไร และกิจการคาดว่าจะสร้างรายได้จากการประกอบการในอนาคตจากเงินที่จัดหามาอย่างไร สุดท้ายมีกำไรเพื่อไปจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินปันผลในอนาคตอย่างไรบ้างนั่นเองค่ะ
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด คือการที่กิจการมีเงินสดที่ได้รับมา และได้จ่ายไปจากกิจกรรมใดเป็นหลักและมีความสามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ในอนาคตหรือไม่
งบกระแสเงินสดเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสนใจ โดยเฉพาะบัญชีเงินสดที่ปรากฏอยู่ในงบการเงิน จัดเป็นรายการหนึ่งที่แสดงถึงสภาพคล่องของกิจการว่าเป็นอย่างไร มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเพียงใด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงินสดเป็นสำคัญ
ดังนั้น นักบัญชีควรให้ความสนใจกับการวิเคราะห์กระแสเงินสดกันค่ะ เพราะในโลกความเป็นจริงแล้วเราอาจจะเจอหลายๆ บริษัทที่กำไรเบ่งบาน แต่เงินสดไม่พอใช้ สภาพคล่องทางการเงินไม่ค่อยดีนักอยู่เต็มไปหมดเลยค่ะ
ที่มา : thaicpdathome.com
งบกระแสเงินสด
17092
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมี
7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมี
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง
การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง
การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
ภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ต่างกันอย่างไร
ภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ต่างกันอย่างไร
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
การเดบิตและเครดิต ในหลักการบัญชีคู่ (Doulble Entry Accounting)
การเดบิตและเครดิต ในหลักการบัญชีคู่ (Doulble Entry Accounting)
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com