การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual

การบัญชีในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อทุกๆกิจการ การทำงานของบัญชีก็มีหลายส่วนงานด้วยกัน ซึ่งส่วนงานที่สำคัญของบัญชีก็คือการออกงบการเงิน ในงบการเงินประกอบด้วย 5 งบที่สำคัญคือ

1.
งบแสดงฐานะการเงิน 
2.
งบกำไรขาดทุน 
3.งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ
4.
งบกระแสเงินสด 
5.หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหลายส่วนงานของกิจการสามารถนำงบการเงินไปใช้ได้ เช่น ฝ่ายบริหารใช้ในการบริหารงาน ฝ่ายการเงินใช้ดูสภาพคล่องของกิจการ และสิ่งที่สำคัญของบัญชีคือการใช้รูปแบบการบันทึกบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการ ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึงเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic และ Perpetual มาดูกันเลยนะคะว่ามีรูปแบบการบันทึกบัญชียังไงบ้าง

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System : พีริออดิก อินเวนทอรี ซิสเทิม)

วิธีนี้จะไม่มีการบันทึกบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ในระหว่างงวด ดังนั้นยอดคงเหลือบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอด ณ วันต้นงวด และจะไม่บันทึกต้นทุนขายในทุกครั้งที่ขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ต้องการทราบยอดคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนขายต้องทำการคำนวณ วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าในปริมาณมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ข้อดีของวิธีนี้คือ การบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลา ข้อเสียคือ ไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ทันทีที่ต้องการ

การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System : เพอเพชชวล อินเวนทอรี ซิสเทิม)

        วิธีนี้จะมีบัญชี "สินค้าคงเหลือ" ไว้เพื่อบันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดการดำเนินงาน โดยใช้บันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขาย ส่งคืนและรับคืน ดังนั้นจึงทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพงหรือสินค้าจำนวนไม่มาก ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้ทรายยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา ข้อเสียคือ ต้องบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก

เปรียบเทียบการบันทึกบัญชี

periodic-and-perpetual

ดังนั้นการใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละกิจการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการบันทึกบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : http://www.mindphp.com

 2564
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการทำงานในธุรกิจเป็นอย่างมาก และยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีมาก งานบัญชีถือเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมของธุรกิจ ชี้วัดสุขภาพทางการเงินขององค์กร ว่ามีกำไรขาดทุนมากน้อยเพียงใด ในยุคที่การตัดสินใจของลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำบัญชีบนกระดาษที่ใช้เอกสารจำนวนมากอาจทำให้ไม่ทันความต้องการ การมีเครื่องมือในการทำบัญชีเป็นตัวช่วยให้งานบัญชี รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมาก
สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์