7 ข้อผิดพลาดของสำนักงานบัญชีมือใหม่

7 ข้อผิดพลาดของสำนักงานบัญชีมือใหม่



การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 

เห็นแบบนี้แล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่นักบัญชีส่วนมากตัดสินใจที่จะออกไปเริ่มธุรกิจของตนเองเลยใช่มั้ยคะ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเปิดสำนักงานบัญชีจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ทำเงินได้มาก แต่ยังคงมีสำนักงานบัญชีหลายแห่งที่พลาด “ตกหลุมพราง” ในวงการนี้

ดังนั้น เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจนี้ เรามาเรียนรู้กันค่ะว่าข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับสำนักงานบัญชีมือใหม่ 7 ประการนั้นมีอะไรกันบ้าง

1. ต้นทุนไม่เพียงพอ

สำนักงานบัญชีหน้าใหม่มักจะประสบปัญหาเรื่องการมีต้นทุนไม่เพียงพอ และลืมที่จะตระหนักถึงช่วงเวลาที่ลูกค้าจะจ่ายเงินค่าบริการให้กับเรา เช่น บางครั้งเราให้บริการไปแล้ว เงินเดือนลูกจ้างสำนักงานก็ต้องจ่าย แต่ว่ายังเก็บค่าบริการจากลูกค้าไม่ได้เลย 

ซึ่งเหล่านักธุรกิจหน้าใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ อาจจะต้องมี “เงินก้นถุง” เพื่อใช้จ่ายทั่วไปในสำนักงานให้ได้อย่างน้อย 1 ปี และต้องประเมินความเสี่ยงว่าธุรกิจนี้อาจจะทำกำไรได้น้อยมากในปีแรก 

ที่แย่ไปกว่านั้นคือ การที่มีต้นทุนไม่เพียงพอก็จะยิ่งนำไปสู่ปัญหาที่สองที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ กับบริษัทหน้าใหม่ด้วย

2. ไม่มีความรู้เกี่ยวกับทำการตลาด

เป็นที่น่าแปลกใจว่า สำนักงานบัญชีหน้าใหม่หลายๆ แห่งแทบจะไม่ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการลงทุนด้านการตลาดให้กับบริษัทของตนเอง ซึ่งบางคนคิดว่าการเข้าไปอยู่ในวงการบัญชี หรือการใช้หลักการบอกเล่าปากต่อปากจากเพื่อนและครอบครัว ก็น่าจะเพียงพอต่อการเปิดสำนักงานบัญชี

ผลที่ตามมาคือ ผลประกอบการของสำนักงานบัญชีเหล่านี้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดในช่วง 6 เดือนแรก และอาจสร้างปัญหาต่อกระแสเงินสดของบริษัทในช่วงปีที่สองได้อีกเช่นกัน

ความจริงก็คือ วิธีการที่เราเคยคิดว่าใช่นั้น อาจจะไม่ใช่วิธีการทำธุรกิจที่ได้ผลเสมอไป ซึ่งการเริ่มต้นทำธุรกิจบัญชีนั้น ต้องยอมรับว่าการตลาดถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของการเริ่มธุรกิจใหม่

เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดนี้ เราจึงแนะนำให้สำนักงานบัญชีหน้าใหม่ลองทำการบ้าน ศึกษากลุ่มลูกค้าที่เราต้องการอย่างจริงจัง และใช้หลักการตลาดในการสร้างโอกาสและทำรายได้ให้กับธุรกิจกันนะคะ 

3. คิดค่าบริการต่ำเกินจริง

สำนักงานบัญชีจำนวนมากที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่วงการมักจะประสบปัญหาที่เจอกันบ่อยๆ นั่นก็คือ 
การยอมรับค่าธรรมเนียมที่ต่ำเกินไปในช่วงแรก โดยคิดว่าการเก็บค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดจะทำให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น

แต่อุปสรรคที่จะตามมาคือ การพยายามเปลี่ยนแปลงค่าบริการกับลูกค้า จากที่เคยเก็บค่าบริการที่มีราคาถูกในช่วงแรก ไปเป็นค่าบริการที่บริษัทมองว่า “สมเหตุสมผล” ซึ่งแท้จริงแล้วนั้น การเปลี่ยนแปลงค่าบริการดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เท่ากับว่าบริษัทต้องยอมรับค่าธรรมเนียมในตอนแรกที่ตั้งไว้และมีราคา "ต่ำกว่าตลาด" ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าเหล่านี้ก็จะยังคงจะคาดหวังอัตราเดิมจากบริษัท ซึ่งก็คืออัตรา "ต่ำกว่าตลาด" นั่นเอง 

การเรียนรู้วิธีที่จะกำหนดราคาค่าบริการของบริษัทให้เหมาะสม และการแสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริงและความสามารถของบริษัทหน้าใหม่ จะเป็นกุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดข้างต้นนี้ เราเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้งานที่ทำไม่มีมูลค่าหรือจบลงด้วยการได้ลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินเพียงน้อยนิด

4. การจัดเก็บเงินไม่เป็นระบบ

สำนักงานบัญชีใหม่หลายแห่งอาจชะล่าใจและคิดว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะมีเงินทุนเพียงพอที่จะจ่ายเงินเราได้ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นงานแล้ว โดยมักจะคิดว่าการส่งบิลไปให้ลูกค้าแบบรายเดือนนั้นก็น่าจะเพียงพอแล้ว ซึ่งแท้จริงแล้วมันไม่ใช่อย่างที่คิด!

บริษัทที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนวิธีการเก็บเงินไปสู่กระบวนการที่มั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินทันทีหลังงานสิ้นสุดลง ในความเป็นจริงนั้น การเก็บเงินค่าบริการจากลูกค้าจะต้องเป็นเป้าหมายหลักในการทำธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดกระแสเงินสด ซึ่งสำนักงานบัญชีอาจพิจารณาใช้ช่องทางการเก็บเงินจากลูกค้าผ่านระบบออนไลน์แทน เช่น ตัดบัญชีลูกค้าทุกๆ เดือนแบบอัตโนมัติ เป็นต้น

5. ความล้มเหลวในการสร้างความแตกต่างในบริการ

สำนักงานบัญชีหน้าใหม่หลายแห่งเริ่มต้นธุรกิจโดยไม่มีการวางแผนจะสร้างการบริการที่แตกต่างหรือดีกว่ารูปแบบเดิมๆ และมัวแต่มองถึงการทำกำไรเข้าบริษัทเพียงอย่างเดียว และคิดว่าการเปิดสำนักงานบัญชีและมีอิสระในการทำงานก็เพียงพอแล้ว

เราขอแนะนำว่า แต่ละบริษัทควรจะมีแผนพัฒนาการบริการให้สามารถสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด เพื่อให้บริษัทสามารถจ้างพนักงานที่ดีกว่าพนักงานทั่วไปและทำให้เขาอยู่กับบริษัทได้นาน สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จ และสามารถก้าวหน้าต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องลงแรงมากนัก การสร้างความแตกต่างในสายงานนี้จะทำให้ธุรกิจโดดเด่นขึ้นมาได้ในสายตาลูกค้า พร้อมทั้งช่วยลดภาวะการแข่งขัน และทำให้สามารถรองรับลูกค้าที่มีคุณภาพด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

6. มองข้ามคนที่คุณรัก

บริษัทที่พึ่งเริ่มต้น ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใดก็ตาม จะต้องการเวลาทำงานที่มากกว่าการทำงานปกติ นั่นหมายถึงการสร้างฐานะทางการเงิน และการพยุงบริษัทเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอด สิ่งที่จำเป็นในการทำธุรกิจหน้าใหม่นั้นคือการยึดมั่นกับหลักการในการทำงานร่วมกันเป็นทีม และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและคนรอบข้าง

7. ขาดคนให้คำปรึกษา

สิ่งสำคัญสุดท้ายในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด คือ การพยายามเรียนรู้และเข้าใจนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวงการ โดยผู้คนเหล่านี้มักจะชอบเล่าถึงธุรกิจของตนเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีที่เราควรซักถามเมื่อมีโอกาส นอกจากนี้ ธุรกิจสำนักงานบัญชีไม่ใช่ธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งการได้เรียนรู้จากเหล่านักบัญชีย่อมเป็นโอกาสดีที่จะทำให้หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้

โดยเราแนะนำว่าหากมีโอกาส ควรหาผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและขอรับคำปรึกษาจากบุคคลดังกล่าวในระยะยาวได้

ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ย่อมต้องมีข้อผิดพลาดในการทำธุรกิจโดยทั้งสิ้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือ เมื่อผิดพลาดแล้วเราเรียนรู้ที่จะแก้ไขและป้องกันมันอย่างไรนั่นเองนะคะ 

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี!



ที่มา: thaicpdathome

 1008
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ
รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์