ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

ผู้ประกอบการทำบัญชีเองได้มั้ย ?

มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่

การที่ผู้ประกอบการใช้บริการโปรแกรมบัญชี ทำบัญชี/ออกเอกสาร/ซื้อ-ขาย/บันทึกรายการบัญชี/จำทำระบบบัญชีที่ดี หรือแม้กระทั่งดูสรุปข้อมูลต่างๆเองได้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องจ้างนักบัญชี หรือสำนักงานบัญชีในการตรวจสอบความถูฏต้อง ซึ่งการปิดงบนั้นจำเป็นต้องให้นักบัญชีที่รับทำบัญชี หรือสำนักงานบัญชีที่มีความหมายเชี่ยวชาญในการจัดการ เพราะตามระเบียบของกรมสรรพากรกำหนดให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี ต้องแยกออกระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้ทำเอกสารของบัญชี การออกเอกสารใบกำกับภาษี/ออกบิล/ใบเสร็จรับเงิน/จ่ายเงิน/เก็บเอกสาร/รวบรวมเอกสารต่างๆ/ยื่น ภพ.30 และภงด.ต่างๆ ผู้ประกอบการสามารถทำได้เองจบสาขาอะไรก็ทำได้  แต่งานบัญชี/ทำงบการเงินจำเป็นต้องเป็นผู้ทำบัญชีเท่านั้น

ผู้ทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. จลปริญญาหรืออนุปริญญาทางบัญชี
  2. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพ
  3. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  4. อบรมความรู้ต่อเนื่องด้านวิชาชีพทุกๆปีไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปี

ระดับอนุปริญญาหรือปวส.ทางด้านบัญชีรับทำบัญชีให้กับธุรกิจประเภท ก.ได้โดยจำกัดทะเบียนของกิจการไม่เกิน5 ล้านบาท สินทรัพย์และรายได้อย่างละไม่เกิน 30 ล้านบาท

หน้าที่ของผู้ทำบัญชี

  • จัดทำบัญชี

หน้าที่แรกเลย คือการจัดทำบัญชีทั้งจัดทำงบการเงินต่างๆ บัญชีรายรับ-รายจ่าย งบกำไรขาดทุนหรืออื่นๆมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องรู้เรื่องการเงินในบริษัทนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น วางแผนธุรกิจ วางแผนทางการตลาด และอื่นๆต่อไป

  • ยื่นแบบประจำเดือน/ประจำปี

การยื่นแบบประจำเดือน เช่น ภพ.30 ภงด.1 ภงด.51 ภงด.53 เงินสมทบประกันสังคม หรือแบบอื่นที่จำเป็นต้องยื่นให้กรมสรรพากรรวมถึงแบบประจำปี อย่างการจัดทำงบการเงินที่ต้องส่งให้กระทวงพาณิชย์ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจำเป็นต้องให้นักบัญชีลงนามในการจัดทำรายงานเพื่อยื่นส่งภาษี

  • ให้คำปรึกษาทางด้านบัญชี

ให้คำปรึกษา/ ให้คำแนะนำในการจัดการภาษีหรือคำแนะนำอื่นๆที่ทำให้บริษัทเสียค่าใช้จ่ายกับการจัดารด้านบัญชีและภาษีน้อยที่สุดเพราะในการจัดการบัญชีภาษี มีเรื่องของกฎหมายเข้ามาด้วย


ที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ 

 802
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์