อาชีพหลังเรียนจบสาขาบัญชี ผู้ทำบัญชี VS ผู้ตรวจบัญชี

อาชีพหลังเรียนจบสาขาบัญชี ผู้ทำบัญชี VS ผู้ตรวจบัญชี



ถ้าคุณจบปริญญาตรี สาขาบัญชีมา  โดยทั่วไปจะสามารถเลือกเข้าทำงานในบริษัทได้หลายรูปแบบ จะเลือกทำงานในบริษัทที่เป็นผู้ผลิต หรือผู้ขายก็ได้  หรือจะเลือก หางานบัญชีบริษัทตรวจสอบบัญชีก็ได้ ทั้ง 2  กรณีนี้จะมีรูปแบบการทำงานแตกต่างกัน

ผู้ทำบัญชี VS ผู้ตรวจบัญชี

ถ้าคุณเลือกทำงานในบริษัทเป็นผู้ทำบัญชี  คุณจะรู้เรื่องตั้งแต่เริ่มต้นของการบันทึกข้อมูลรายการซึ้อขายที่เกิดขึ้นของบริษัท จ่ายเงินรับเงิน ดูความถูกต้องของเอกสาร ฯลฯไปจนกระทั่ง สามารถปิดงบการเงินได้  เสนอผู้บริหารได้  แต่ข้อมูลที่ทำออกมาจะเป็นไปตามเอกสารที่มีอยู่ทั้งหมด  ซึ่งความถูกต้องของข้อมูลเป็นหน้าที่ของคุณที่ต้องรับผิดชอบ

แต่ถ้าทำงานในบริษัทตรวจสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) ก็จะมีแบบฟอร์มมาตรฐาน กำหนดให้ตรวจสอบว่าจะต้องทำอย่างไร  จะดูข้อมูลการบันทึกบัญชีที่จะทำการตรวจสอบว่าเป็นอย่างไร ตรวจสอบจำนวนเงินที่รับมา-จ่ายไป ตรวจดูเช็คเงินสด เพื่อสอบยอดเงิน ลายเซ็นการขีดฆ่า และวันที่สั่งจ่ายเข้าบัญชีเงินสด เพื่อพิสูจน์ยอดของการบันทึกบัญชีนั้น ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีภาษีอากร

หลังตรวจสอบเสร็จ พิสูจน์ยอดงบการเงินลงตัวแล้ว  ก็เสนอเรื่องให้ผู้จัดการบริษัทรับทราบ  แล้วก็เสนอให้หัวหน้าของคุณบันทึกแสดงความเห็นต่องบการเงินนั้น

จะเห็นได้ว่า การทำงานทั้ง 2 กรณีนี้  จะแตกต่างกัน  แต่สุดท้ายก็จะไปพบกันที่จุดปลายทางตอนปิดงบประจำปี

ถ้าคุณต้องการความก้าวหน้า  ก็แนะนำว่าให้เลือกทางเดินไปสมัครในบริษัทตรวจสอบก่อน แล้วฝึกงานตรวจสอบจนครบชั่วโมง  แล้วก็ไปสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี สอบ CPA ให้ผ่าน (CPA คือ Certified Public Accountant ที่รับรองความเป็น Professional ในสายงานตรวจสอบ) เก็บชั่วโมงการทำงานให้ครบ 3000 ชม.(ประมาณ 3 ปี) แล้วคุณจะเรียกเงินเดือนได้สูงกว่าระดับพนักงานบัญชีทั่วไป ซึ่งจะต่างกันมากกว่า 5000 เลยทีเดียว

ถ้าจะพูดถึงสุดยอดปรารถนาในสายงานบัญชี ปัจจุบันนี้คือ Big 4 ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ให้บริการตรวจสอบบัญชีและให้คำปรึกษาทางธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 4 บริษัท ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Deloitte ชื่อเต็มคือ Deloitte Touche Tohmatsu
  • Ernst & Young ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น EY
  • KPMG ชื่อเต็มคือ Klynveld Peat Marwick Goerdeler
  • PwC ชื่อเต็มคือ Price waterhouse Coopers

ส่วนใครที่คิดว่า BIG4 เข้ายากนั้น ไม่จริงครับ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการหางานบัญชีคืองานวิชาชีพเฉพาะ คนกลุ่มนี้จบสถาบันอะไรก็ได้ที่สอนบัญชีโดยตรง แต่ความสำคัญมีสองเรื่อง คือ หนึ่งคือต้องมี certificated ติดตัว เพราะตัวนี้จะบอกว่าคุณมีความสามารถและประสบการณ์ระดับไหน

อย่างที่สองคือภาษา เพราะงานบัญชีเหมือนกับใช้แต่ตัวเลข แต่จริง ๆ การเข้าถึงลูกค้า ภาษาสำคัญมาก ถ้าคุณมีทั้งสองอย่างรับรองว่าสามารถเข้าไปทำงานได้แน่นอน (ถ้าทำข้อสอบกับสอบสัมภาษณ์ผ่านนะ)

อาจจะฟังดูยุ่งยากไปสักหน่อย แต่รับรองว่าคุ้มค่าเนื่องจากประสบการณ์การทำงานที่จะได้รับกับบริษัทชื่อเสียงดีระดับโลก ระบบบการดำเนินงาน การฝึกอบรม โอกาสในการทำงานในระดับ regional และ global ที่มีมาตราฐานสูง โอกาสในการเติบโตในสายอาชีพทั้งภายในและภายนอกองค์กร การสร้าง profile ที่ดีให้กับตัวเองในอนาคต มีเพื่อนร่วมงาน สังคมที่ดี มีเงินเดือนและสวัสดิการระดับสูง

หรือจะลองเข้าบริษัทใหญ่ๆพวก PTT  , Exxon หรือจะเป็นบริษัทต่างชาติก็ได้ ทุกที่มีงานด้านบัญชีรองรับอยู่เสมอ จะหาสมัครงานโรงงาน ตามนิคมอุตสาหกรรมก็รายได้ดี แถมสวัสดิการยังดีมากด้วย หรือไปทำงานสายธนาคาร คุณก็จะไปอยู่สายไฟแนนซ์ สินเชื่อ การเงินได้อีก เรียกว่ามีแทบองค์กรที่จะสามารถเข้าไปทำงานด้านบัญชีได้เลยทีเดียว

ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการทำงานด้านนี้ ซึ่งคุณสมบัติของพนักงานบัญชี ที่บริษัทต้องการมีดังต่อไปนี้

  • จบการศึกษาสายบัญชีจากสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาการบัญชี
  • มีทักษะทางวิชาชีพในด้านต่างๆ ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิคทั่วไปและเทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพ ทักษะส่วนบุคคล ทักษะในการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะด้านการจัดการทางธุรกิจและองค์กร
  • ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ รักษาความลับได้ดี คุณจะรู้เกี่ยวกับการเงินขององค์กรทั้งหมด ดังนั้นต้องรักษาความลับได้ดี
  • เป็นคนละเอียด รอบคอบ ทำงานกับเรื่องเงิน พลาดทีนี่ยาวแน่นอน ต้องใส่ในในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ
  • มีมนุษยสัมพันธ์ดี รับฟังหัวหน้างาน มีอัธยาศัยดีกับเพื่อนร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา เพราะจะมีข้อกฏหมายที่จะปรับปรุงอยู่ตลอด
  • อดทน ทำงานหนัก จุกจิก ซ้ำๆได้ งานบัญชีส่วนใหญ่จะซ้ำๆ มีไม่กี่อย่าง
  • กลับดึกได้ ข้อนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นช่วงปิดงบก็ 3-4 ทุ่มนี่อย่างต่ำ ถ้า บ.ใหญ่ๆ อาจอยู่ถึง 5 ทุ่มหรือเที่ยงคืน
  • เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆที่จะช่วยให้การทำงานของคุณสะดวกรวดเร็ว และถูกต้องมากชึ้น
  • มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คุณจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกับทางลูกค้าหรือหน่วยงานนั้นๆ อาจเป็นชาวต่างชาติ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ด้านภาษาบ้าง

ถ้าคุณมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ว่ามานี้ คุณสามารถหางานได้ทุกบริษัทที่คุณต้องการจะเข้าไปทำงานแน่นอน

“อยากจะบอกว่าสายอาชีพนี้คนขาดตลอดศกครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีงาน จบบัญชีไม่ต้องกลัวตกงานครับ ปัจจุบันพนักงานบัญชียังขาดอีกประมาณ 50% ของอัตราการว่าจ้าง ยังไม่รวมการเปิด AEC  ที่จะมีการค้าขายระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอีกมาก ยิ่งต้องการคนทำงานบัญชีที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการเงินอีกมาก”


บทความโดย: http://www.unigang.com

 2946
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของธุรกิจทั้งในนามบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มักนิยมทำการตลาดผ่านโซเชียล เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและรวดเร็ว แต่เจ้าของธุรกิจอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายจ่ายตรงนี้มากเท่าไหร่
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
แม้ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก จะมีหน้าที่บอกกรมสรรพากรว่าบริษัทมีพนักงานกี่คนแต่ละคนได้เงินเดือนเท่าไหร่และเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปเท่าไหร่แต่ก็มีความแตกต่างในการกรอกรายละเอียดและช่วงเวลาในการนำส่ง กล่าวคือ
ความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทุกประเภทเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน การจัดวางระบบการเงินและการบัญชีเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะนอกจากจะทำให้เราทราบสถานะของกิจการว่ามีผลกำไรขาดทุนหรือไม่อย่างไร การจัดทำบัญชีและการเงินยังช่วยให้เราทราบข้อมูลของกิจการ เช่น ทราบจำนวนทรัพย์สิน หนี้สิน
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
ส่วนลดจ่าย หรือค่าลดหย่อน การส่งเสริมการขายแคมเปญการขาย Flexi comBo Flash Sale  การขายแบบให้ส่วนลดลูกค้าหลังจากนั้นช่องทางการขายจะโอนส่วนลดที่ให้ลูกค้าคืนกลับให้บริษัท เป็นรายการที่พบเจอได้ตลอดเวลาสำหรับร้านค้า Online  ที่ขายสินค้าบน  MarketPlaces  ต่างๆ ทั้งนี้สรรพากรมีหลักการในการออกส่วนลดให้ปรากฎในใบกำกับภาษีไว้ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์