ขอคืนเงินค่าอากรแสตมป์ได้ในกรณีใด

ขอคืนเงินค่าอากรแสตมป์ได้ในกรณีใด


เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมาย
กำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ ตามลักษณะที่ได้กำหนดเอาไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายประมวลกฎหมายรัษฎากร นอกจากนี้ยังมีความสำคัญเป็นอย่างมากในตราสารที่จะใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในทางคดี ซึ่งจะต้องมีการติดอากรแสตมป์ตามอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ปัจจุบันกำหนดให้มีตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์จำนวนทั้งสิ้น 28ลักษณะ ตามที่ปรากฏในช่อง “ลักษณะตราสาร”ของบัญชีอากรแสตมป์ โดยต้องปิดแสตมปบริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น และโดยที่ตราสารเกือบทุกลักษณะจำเป็นต้องมีการกระทำซึ่งคำว่า “กระทำ” เมื่อใช้เกี่ยวกับตราสารหมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในทางปฏิบัติ หากบุคคลได้ทำสัญญาและกรณีสัญญาใดที่ทำขึ้นนั้น เข้าลักษณะเป็นตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ได้เกิดขึ้นและได้เสียค่าอากรแสตมป์ไปแล้ว ต่อมาเป็นกรณีที่ได้เสียไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้ที่ได้ชำระอากรจะมีสิทธิขอคืนค่าอากรได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดพิจารณาได้ดังนี้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

1. ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่น้อยกว่า 2 บาท
2. ให้ยื่นคำร้องภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร
3. คำร้องต้องประกอบด้วยคำชี้แจงหรือเอกสาร ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรืออธิบดีเห็นสมควรให้ยื่นการสนับสนุนคำร้อง
4. อธิบดีเห็นว่าเกินไปจริงผลตามกฎหมาย คืนค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรที่เกินไปนั้นแก่ผู้เสียอากรได้


อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
 314
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของ Retention และ Refinance
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์