7 ข้อผิดพลาดของสำนักงานบัญชีมือใหม่

7 ข้อผิดพลาดของสำนักงานบัญชีมือใหม่



การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 

เห็นแบบนี้แล้วจึงไม่น่าแปลกใจที่นักบัญชีส่วนมากตัดสินใจที่จะออกไปเริ่มธุรกิจของตนเองเลยใช่มั้ยคะ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเปิดสำนักงานบัญชีจะเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ทำเงินได้มาก แต่ยังคงมีสำนักงานบัญชีหลายแห่งที่พลาด “ตกหลุมพราง” ในวงการนี้

ดังนั้น เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจนี้ เรามาเรียนรู้กันค่ะว่าข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับสำนักงานบัญชีมือใหม่ 7 ประการนั้นมีอะไรกันบ้าง

1. ต้นทุนไม่เพียงพอ

สำนักงานบัญชีหน้าใหม่มักจะประสบปัญหาเรื่องการมีต้นทุนไม่เพียงพอ และลืมที่จะตระหนักถึงช่วงเวลาที่ลูกค้าจะจ่ายเงินค่าบริการให้กับเรา เช่น บางครั้งเราให้บริการไปแล้ว เงินเดือนลูกจ้างสำนักงานก็ต้องจ่าย แต่ว่ายังเก็บค่าบริการจากลูกค้าไม่ได้เลย 

ซึ่งเหล่านักธุรกิจหน้าใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ อาจจะต้องมี “เงินก้นถุง” เพื่อใช้จ่ายทั่วไปในสำนักงานให้ได้อย่างน้อย 1 ปี และต้องประเมินความเสี่ยงว่าธุรกิจนี้อาจจะทำกำไรได้น้อยมากในปีแรก 

ที่แย่ไปกว่านั้นคือ การที่มีต้นทุนไม่เพียงพอก็จะยิ่งนำไปสู่ปัญหาที่สองที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ กับบริษัทหน้าใหม่ด้วย

2. ไม่มีความรู้เกี่ยวกับทำการตลาด

เป็นที่น่าแปลกใจว่า สำนักงานบัญชีหน้าใหม่หลายๆ แห่งแทบจะไม่ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการลงทุนด้านการตลาดให้กับบริษัทของตนเอง ซึ่งบางคนคิดว่าการเข้าไปอยู่ในวงการบัญชี หรือการใช้หลักการบอกเล่าปากต่อปากจากเพื่อนและครอบครัว ก็น่าจะเพียงพอต่อการเปิดสำนักงานบัญชี

ผลที่ตามมาคือ ผลประกอบการของสำนักงานบัญชีเหล่านี้อาจไม่เป็นไปตามที่คาดในช่วง 6 เดือนแรก และอาจสร้างปัญหาต่อกระแสเงินสดของบริษัทในช่วงปีที่สองได้อีกเช่นกัน

ความจริงก็คือ วิธีการที่เราเคยคิดว่าใช่นั้น อาจจะไม่ใช่วิธีการทำธุรกิจที่ได้ผลเสมอไป ซึ่งการเริ่มต้นทำธุรกิจบัญชีนั้น ต้องยอมรับว่าการตลาดถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของการเริ่มธุรกิจใหม่

เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดนี้ เราจึงแนะนำให้สำนักงานบัญชีหน้าใหม่ลองทำการบ้าน ศึกษากลุ่มลูกค้าที่เราต้องการอย่างจริงจัง และใช้หลักการตลาดในการสร้างโอกาสและทำรายได้ให้กับธุรกิจกันนะคะ 

3. คิดค่าบริการต่ำเกินจริง

สำนักงานบัญชีจำนวนมากที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าสู่วงการมักจะประสบปัญหาที่เจอกันบ่อยๆ นั่นก็คือ 
การยอมรับค่าธรรมเนียมที่ต่ำเกินไปในช่วงแรก โดยคิดว่าการเก็บค่าบริการที่ต่ำกว่าราคาตลาดจะทำให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น

แต่อุปสรรคที่จะตามมาคือ การพยายามเปลี่ยนแปลงค่าบริการกับลูกค้า จากที่เคยเก็บค่าบริการที่มีราคาถูกในช่วงแรก ไปเป็นค่าบริการที่บริษัทมองว่า “สมเหตุสมผล” ซึ่งแท้จริงแล้วนั้น การเปลี่ยนแปลงค่าบริการดังกล่าวเป็นไปได้ยาก เท่ากับว่าบริษัทต้องยอมรับค่าธรรมเนียมในตอนแรกที่ตั้งไว้และมีราคา "ต่ำกว่าตลาด" ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าเหล่านี้ก็จะยังคงจะคาดหวังอัตราเดิมจากบริษัท ซึ่งก็คืออัตรา "ต่ำกว่าตลาด" นั่นเอง 

การเรียนรู้วิธีที่จะกำหนดราคาค่าบริการของบริษัทให้เหมาะสม และการแสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริงและความสามารถของบริษัทหน้าใหม่ จะเป็นกุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดข้างต้นนี้ เราเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากให้งานที่ทำไม่มีมูลค่าหรือจบลงด้วยการได้ลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินเพียงน้อยนิด

4. การจัดเก็บเงินไม่เป็นระบบ

สำนักงานบัญชีใหม่หลายแห่งอาจชะล่าใจและคิดว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะมีเงินทุนเพียงพอที่จะจ่ายเงินเราได้ทันทีหลังจากเสร็จสิ้นงานแล้ว โดยมักจะคิดว่าการส่งบิลไปให้ลูกค้าแบบรายเดือนนั้นก็น่าจะเพียงพอแล้ว ซึ่งแท้จริงแล้วมันไม่ใช่อย่างที่คิด!

บริษัทที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนวิธีการเก็บเงินไปสู่กระบวนการที่มั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินทันทีหลังงานสิ้นสุดลง ในความเป็นจริงนั้น การเก็บเงินค่าบริการจากลูกค้าจะต้องเป็นเป้าหมายหลักในการทำธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดกระแสเงินสด ซึ่งสำนักงานบัญชีอาจพิจารณาใช้ช่องทางการเก็บเงินจากลูกค้าผ่านระบบออนไลน์แทน เช่น ตัดบัญชีลูกค้าทุกๆ เดือนแบบอัตโนมัติ เป็นต้น

5. ความล้มเหลวในการสร้างความแตกต่างในบริการ

สำนักงานบัญชีหน้าใหม่หลายแห่งเริ่มต้นธุรกิจโดยไม่มีการวางแผนจะสร้างการบริการที่แตกต่างหรือดีกว่ารูปแบบเดิมๆ และมัวแต่มองถึงการทำกำไรเข้าบริษัทเพียงอย่างเดียว และคิดว่าการเปิดสำนักงานบัญชีและมีอิสระในการทำงานก็เพียงพอแล้ว

เราขอแนะนำว่า แต่ละบริษัทควรจะมีแผนพัฒนาการบริการให้สามารถสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด เพื่อให้บริษัทสามารถจ้างพนักงานที่ดีกว่าพนักงานทั่วไปและทำให้เขาอยู่กับบริษัทได้นาน สิ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จ และสามารถก้าวหน้าต่อไปได้โดยไม่จำเป็นต้องลงแรงมากนัก การสร้างความแตกต่างในสายงานนี้จะทำให้ธุรกิจโดดเด่นขึ้นมาได้ในสายตาลูกค้า พร้อมทั้งช่วยลดภาวะการแข่งขัน และทำให้สามารถรองรับลูกค้าที่มีคุณภาพด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นได้อีกด้วย

6. มองข้ามคนที่คุณรัก

บริษัทที่พึ่งเริ่มต้น ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใดก็ตาม จะต้องการเวลาทำงานที่มากกว่าการทำงานปกติ นั่นหมายถึงการสร้างฐานะทางการเงิน และการพยุงบริษัทเพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอด สิ่งที่จำเป็นในการทำธุรกิจหน้าใหม่นั้นคือการยึดมั่นกับหลักการในการทำงานร่วมกันเป็นทีม และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและคนรอบข้าง

7. ขาดคนให้คำปรึกษา

สิ่งสำคัญสุดท้ายในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด คือ การพยายามเรียนรู้และเข้าใจนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวงการ โดยผู้คนเหล่านี้มักจะชอบเล่าถึงธุรกิจของตนเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีที่เราควรซักถามเมื่อมีโอกาส นอกจากนี้ ธุรกิจสำนักงานบัญชีไม่ใช่ธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งการได้เรียนรู้จากเหล่านักบัญชีย่อมเป็นโอกาสดีที่จะทำให้หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้

โดยเราแนะนำว่าหากมีโอกาส ควรหาผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและขอรับคำปรึกษาจากบุคคลดังกล่าวในระยะยาวได้

ไม่ว่าใครก็แล้วแต่ย่อมต้องมีข้อผิดพลาดในการทำธุรกิจโดยทั้งสิ้น แต่สิ่งที่สำคัญ คือ เมื่อผิดพลาดแล้วเราเรียนรู้ที่จะแก้ไขและป้องกันมันอย่างไรนั่นเองนะคะ 

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี!



ที่มา: thaicpdathome

 985
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์