เครดิตภาษีเงินปันผล

เครดิตภาษีเงินปันผล


สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน

1.เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร เกิดจากอะไร

       เครดิตภาษีเงินปันผลเป็นอีกสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ เนื่องมาจากความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้

       พูดง่ายๆ คือ “เงินปันผล” มาจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปของภาษีเงินได้นิติบุคคล และเมื่อบริษัทนำกำไรสุทธิมาจ่ายเป็นเงินปันผล นักลงทุนยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นการ

       เสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน ภาครัฐจึงอนุญาตให้นักลงทุนขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนได้ บางส่วน นักลงทุนสามารถดูอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทได้จาก หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งนักลงทุนต้องเก็บหนังสือรับรองนี้ไว้เป็นหลักฐาน เผื่อกรณีที่กรมสรรพากรขอหลักฐานเพิ่มเติมภายหลังด้วย

2.อยากเครดิตภาษีเงินปันผลต้องทำอย่างไร

       ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่า... เงินปันผลที่ได้รับสามารถใช้เครดิตภาษีได้หรือไม่ วิธีง่ายๆ ให้ดูว่า บริษัทที่จ่ายเงินปันผลให้เรานั้นเสียภาษีนิติบุคคล หรือไม่

       ถ้าบริษัทนั้น “เสียภาษี” นักลงทุน สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ แต่จะนำมาเครดิตได้ในอัตราเท่าใด ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทที่ลงทุนเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละเท่าใด นำอัตราภาษีมาแทนค่าตามสูตรข้างต้น จะได้สัดส่วนการเครดิตภาษีเงินปันผล หรือถ้าบริษัท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตรา ก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผลในแต่ละอัตรา ซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ในหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย

       แต่ถ้าบริษัทนั้น “ไม่เสียภาษี” นักลงทุนจะ ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ นักลงทุนอาจต้องพิจารณาต่อว่าบริษัทไม่เสียภาษี
เนื่องจากอะไร เช่น

  • เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI)
  • กฎหมายพิเศษยกเว้น เช่น พาณิชย์นาวี ซึ่งบริษัทเรือหรืออู่เรือส่วนใหญ่เข้าข่ายเกณฑ์ข้อนี้ แต่อาจต้องตรวจสอบกับบริษัทนั้นๆ อีกครั้งว่า... จดทะเบียนยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่

3.ควรนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีและใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่

       เทคนิคคร่าวๆ ว่า… จะเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลหรือไม่ ให้พิจารณาจาก ฐานภาษีเงินได้ของนักลงทุน เปรียบเทียบกับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัทที่นักลงทุนได้รับเงินปันผล

ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา > อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท ไม่ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล”

ถ้าฐานภาษีเงินได้ของเรา < อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล”

       ข้อควรระวังในการเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผล คือ หากตัดสินใจเลือกนำเงินปันผลมาเครดิตภาษีแล้ว จะต้องนำเงินปันผลทุกรายการที่ได้รับมาคำนวณ จะเลือกนำเฉพาะรายการใดรายการหนึ่งไม่ได้

       เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว... อย่าลืมไปใช้สิทธิขอคืนภาษีกันเชียว ถึงจะเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่รวมกันหลายๆ ปีก็คงเป็นเงินจำนวนไม่น้อย หรือหากท่านใดไม่ประสงค์จะขอคืน ก็สามารถบริจาคเงินภาษีให้รัฐบาลนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ต่อไป

แหล่งที่มา : Link

 1573
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
แบบ ภ.ง.ด.94   : แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน  เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์