e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร

e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร



e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 

E Invoice

E Invoice หรือใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นใบที่ออกโดยเจ้าของเอกสารกับแก่ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าและบริการ โดยเอกสารจะสมบรูณ์เมื่อมีลายเซ็นของผู้ขายและผู้ซื้อ

โดยข้อมูลหลัก ๆ จะประกอบไปด้วยสองส่วนได้แก่

ข้อมูลของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ประกอบไปด้วย วันที่ออกเอกสาร/เลขที่ใบแจ้งหนี้/ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่บริษัทหรือห้างร้าน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ออกใบแจ้งหนี้ รวมไปถึงลายเซ็นของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ข้อมูลของลูกค้า

ประกอบไปด้วย ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่ของบริษัทหรือห้างร้าน/ รายละเอียดของสินค้าและบริการ/สรุปยอดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด/ วันที่กำหนดสำหรับการชำระเงินสำหรับสินค้าและบริการ

e Tax invoice

e Tax invoice หรือใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ อ้างอิงจากกรมสรรพากรหมายถึง  เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำ และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อ (Vat)

ใบกำกับภาษีมีทั้งหมดกี่แบบ

ใบกำกับภาษีแบบเต็มคือ ใบภาษีที่มีการแยกราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน 

ใบกำกับภาษีแบบย่อคือ ใบภาษีที่มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปแล้ว 

ธุรกิจหรือบริการไหนบ้างที่ต้องมีการออกใบกำกับภาษี

  • ผู้ประกอบการธุรกิจหรือสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ผู้ค้าขายสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อมูลที่ต้องมีอยู่ในใบกำกับภาษี

สำหรับใบกำกับภาษีแบบเต็มนั้นจะประกอบไปด้วยข้อความดังต่อไป

  • เห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี”.อย่างชัดเจน
  • ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษี
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
  • รายละเอียดของสินค้า ได้แก่ ชนิด ประเภท ปริมาณและราคา 
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากราคาสินค้าและบริการ ให้แยกออกจากสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน
  • วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี

 

อ้างอิงจาก itax.in.th

 438
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง
เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์