ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว

ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว


ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่าย
ให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่า และเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี

บัญชีชุดเดียวคืออะไร  คือการจัดทำบัญชีตามข้อเท็จจริงของรายได้ธุรกิจ เพราะเนื่องจากในอดีตบางธุรกิจจะมีการทำหลายบัญชีเพื่อ

  1. ยื่นกู้ขอสินเชื่อ โดยสร้างความน่าเชื่อถือต่อรายได้ของบริษัทให้เกินจริง

  2. หลีกหนีภาษี โดยจัดรายได้บริษัทให้น้อยเกินกว่าต้องเสียภาษีโดยเมื่อเกิดการตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามจริงเหมือนในเอกสารบัญชีจะถือเป็นความผิด และรัฐสามารถเอาผิดแก่ผู้ประกอบการได้ทันที

ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว

1. ตรวจสอบผู้ประกอบการและเร่งระดับความเป็น SMEs ให้มีความเป็นสากลได้มากขึ้น โดยนำบัญชีไปวางแผน

2. ทำให้เจ้าของกิจการได้ทราบถึงข้อมูลตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง ทำให้สามารถวางแผนงานและการดำเนินงานธุรกิจต่อไปได้

3. บัญชีเดียวสามารถยื่นกู้สินเชื่อได้ตามจริง โดยเมื่อธนาคารตรวจสอบจะเห็นรายได้ตามจริงของบริษัทแต่ถ้าเป็นบัญชีที่ตกแต่งขึ้นมาผิดปกติหากเมื่อเกิดการตรวจสอบอาจทำให้บริษัทต้องขึ้น blacklist ได้

4. สามารถคำนวณการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง เพราะถ้าเกิดการฟ้องร้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการเสียภาษีผู้ประกอบการสามารถร้องเรียนได้ด้วยหลักฐานบัญชี

5. ช่วยรัฐวางแผนเศรษฐกิจระดับประเทศได้ถูกต้อง โดยนำตัวเลขมาเฉลี่ยและคำนวณรายการเติบโตของผู้ประกอบการในประเทศ และเอามาพัฒนานโยบายต่อไป

การทำบัญชีชุดเดียวในปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำ เพราะเป็นแนวทางการทำงานที่ทำให้วางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้นและเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานทั้งการกู้เงินและการเสียภาษีได้ในชุดเดียว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา : GlobalLinker Staff
 569
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
คณะกรรมการกำหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยได้ร่วมกันเผยแพร่ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดย่อมโดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก หรือ ธุรกิจขนาดจิ๋ว

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์