5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE

5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE


ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศ
สภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา

โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ แม้ว่าจะเป็นมาตรฐาน
การบัญชีสำหรับผู้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (PAE) ก็ตาม แต่ในหลักคิดหรือแนวทางการพิจารณาเงื่อนไขการรับรู้รายได้นั้น นักบัญชีที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAE) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาสาระส่วนใหญ่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำหนดแนวทางสำหรับการรับรู้รายได้จากเงื่อนไขและกรณีต่างๆ เพื่อให้สามารถระบุจุดหรือภาระงานใดๆ ก็ตามที่มีการกำหนดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามข้อตกลงที่ทำไว้กับลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงและประกอบกับมาตรฐานชุด NPAE จะเป็นเรื่องของการพิจารณาขยายความให้ชัดเจนขึ้นถึงสถานการณ์หรือเหตุการณ์แวดล้อมที่ทำให้เชื่อได้ว่าสามารถระบุจุดที่สามารถรับรู้รายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีดังกล่าวเป็นการยกเลิกมาตรฐานการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้หลายฉบับและมีผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้าง ซึ่งแนวทางในการรับรู้รายได้ตามแนวทางใหม่นี้จะมีกรอบขั้นตอนที่กำหนดไว้จำนวน 5 ข้อ ประกอบด้วย

1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า พิจารณาจากประวัติของกิจการและในอุตสาหกรรมว่ามีความจำเป็นต้องมีสัญญาหรือไม่ ซึ่งข้อตกลงมีเป็นจำนวนมากหรือรายละเอียดมีความซับซ้อน ควรกำหนดเป็นสัญญา เพื่อให้สามารถอ้างอิงได้ 

2. การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติตตามสัญญา ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องทราบว่ามีข้อตกลงอะไรกับลูกค้าบ้างซึ่งจำเป็นต้องระบุเหตุการณ์หรือกิจกรรมนั้นให้ได้เป็นรูปธรรมชัดเจน  โดยปกติต้องอ้างอิงจากเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ซึ่งควรรวมถึงการลงนามในเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมวันที่ด้วย

3. กำหนดราคาของรายการ ฝ่ายจัดการและฝ่ายขายควรกำหนดให้มีตารางราคาขายหรือเอกสารอื่น เช่น Price List ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีการอนุมัติราคาขายกลางล่วงหน้า ซึ่งควรมีข้อกำหนดของส่วนลดหรือวิธีการให้ส่วนลดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจถึงการพิจารณาราคาขายในรูปแบบการขายหรือให้บริการในรูปแบบต่างๆ  

4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ ในบางกรณี เมื่อมีการต่อรองจากลูกค้าจำเป็นต้องคำนึงถึงการปรับปรุงเพิ่มลดราคาและข้อกำหนดที่อาจมีขึ้นในการเจรจาต่อรองนั้นๆ ซึ่งฝ่ายที่
เกี่ยวข้องต้องอนุมัติเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามนโยบายการขายหรือให้บริการ และจะปิดการขายด้วยการกำหนดว่าจะมีเงื่อนไขที่อาจมีขึ้นอย่างไร  ข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จซึ่งจะควบคู่ไปกับราคาขายขั้นสุดท้าย

5. การรับรู้รายได้เมื่อกิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ ในข้อนี้ถือเป็นแนวทางที่ทำได้ง่ายที่สุด คือ การสรุปว่าภารกิจที่ปฏิบัติตามภาระนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นหรือไม่ เพียงแต่ต้องแน่ใจให้ได้ว่ามีการรวบรวมหลักฐาน
เพื่อประกอบการรับรู้รายได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : วารสาร : CPD&ACCOUNT ตุลาคม 2562
 373
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
แนวทางการบันทึกบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป การขายสินค้าออนไลน์
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร
เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายกำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์