วงจรในการจัดทำบัญชี

วงจรในการจัดทำบัญชี



ถึงแม้ว่านักบัญชีที่จบใหม่ได้ถูกสอนให้เรียนรู้ในวงจรการจัดทำบัญชี แต่อย่างไรก็ดี ก็ควรสอนให้นักบัญชีจบใหม่เข้าใจลำดับขั้นตอนวงจรในการจัดทำบัญชีให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง

1. ความเข้าใจในลักษณะของธุรกิจ

ถึงการจะจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องได้นั้น หัวใจสำคัญคือนักบัญชีต้องมีความเข้าใจในธุรกิจก่อน ธุรกิจที่เราจะต้องจัดทำบัญชีนั้นเป็นธุรกิจประเภทไหน ซื้อมาขายไป ผลิตสินค้า บริการ หรือธุรกิจเฉพาะ เช่นอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม โรงพยาบาล แบบนี้เป็นต้น ดังนั้นเมื่อบริษัทรับพนักงานบัญชีจบใหม่เข้ามาทำงาน ทางหัวหน้างานควรแนะนำให้ความรู้ลักษณะของธุรกิจแก่พนักงานบัญชีจบใหม่

2. ความเข้าใจโครงสร้างองค์กร/ฝ่ายและแผนกต่าง ๆ

ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะงานบัญชีต้องมีการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน ดังนั้นพนักงานบัญชีจบใหม่ เมื่อเข้ามาทำงานจึงควรเรียนรู้โครงสร้าง หน้าที่งานของแต่ละฝ่ายแต่ละแผนก และทำความเข้าใจ

3. ความเข้าใจกระบวนทำงานในกิจกรรมงานต่างๆ ของแต่ละฝ่าย/แผนก

พนักงานบัญชีจบใหม่นั้นไม่ใช่เพียงต้องเข้าใจโครงสร้างองค์กร หน้าที่งานของแต่ละฝ่ายแต่ละแผนก แต่ต้องเข้าใจถึงกระบวนการทำงานด้วย ซึ่งตรงนี้คือการเชื่อมโยงที่ต้องนำองค์ความรู้เรื่องระบบบัญชี การควบคุมภายใน เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกระบวนการมาประยุกต์กับการทำงานนั้นเอง

4. ความเข้าใจในโปรแกรมบัญชี สนับสนุนการทำงาน

ปัจจุบันนี้กระบวนการทำงานต่าง ๆ จะถูกสนับสนุนโดยการนำเครื่องมือ Tools > โปรแกรมบัญชี มาใช้ ดังนั้นการสอนการใช้โปรแกรมบัญชีให้กับพนักงานบัญชีจบใหม่จึงจำเป็น และต้องมีการสอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พนักงานบัญชีจบใหม่ที่จะปฏิบัติใช้งานได้อย่างถูกต้อง (ดังนั้นโปรแกรมการฝึกอบรมการใช้โปรแกรมบัญชี บริษัทควรมีการจัดการอบรมอย่างเป็นระบบ)

5. ความเข้าใจในวิธีการตรวจสอบ

นักบัญชีมีบทบาทหน้าที่สำคัญคือการตรวจสอบ ดังนั้นเรื่องที่ควรสอนนักบัญชีจบใหม่คือวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ทางบัญชีได้รับ ว่าควรตรวจสอบอย่างไร (การตรวจสอบคือ What วิธีการตรวจสอบคือ How to ) และควรสอนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ เมื่อเข้าใจในวัตถุประสงค์การตรวจสอบ ก็เข้าใจได้ง่ายว่าควรใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไร สำหรับวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบต้องเชื่อมั่นได้ว่าเอกสารหลักฐานที่ได้รับเพียงพอ เชื่อถือได้ ถูกต้อง ครบถ้วน และผ่านการอนุมัติจากผู้มีอำนาจนั่นเอง


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : https://www.dst.co.th/

 313
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน
ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี 
ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลายบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว ในบทความนี้ Moneywecan จะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต้นทุนแฝงกันให้มากขึ้นค่ะ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์