เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง

เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องขอเอกสารอะไรจากที่เก่ามาบ้าง



เปลี่ยนสำนักงานบัญชี
 
เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้

1. ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืน

โดยปกติผู้ประกอบการจะส่งเอกสารบิลซื้อและขายตัวจริงให้กับสำนักงานบัญชีเพื่อไปดำเนินการบันทึกบัญชี ดังนั้นเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีตัวจริงทั้งหมดเราจะต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีกลับมาให้หมด ซึ่งกฏหมายกำหนดเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5ปี ได้แก่

  • บิลซื้อ บิลขาย (เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี)
  • แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30 ภ.ง.ด. 50, 51)
  • แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

หมายเหตุ: สำนักงานบัญชีส่วนใหญ่ จะทำใบสำคัญการลงบัญชี
พร้อมแนบเอกสาร จัดเป็นแฟ้มและส่งคืนลูกค้าทุกปีอยู่แล้ว

2.ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี

ข้อมูลการบันทึกบัญชีที่สำนักงานบัญชีจัดทำบัญชีให้เรา ได้แก่

  • งบทดลอง (TB)
  • สมุดรายวันแยกประเภท (GL)
  • สมุดรายวันเฉพาะ (สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน)
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนลูกหนี้ ทะเบียนเจ้าหนี้
  • และรายละเอียดประกอบยอดคงเหลือฝั่งสินทรัพย์และหนี้สิน

โดยปกติเมื่อเราเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เราจะต้องให้เวลาสำนักงานบัญชีเก่าในการปิดบัญชีเพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับสำนักงานบัญชีใหม่ การปิดบัญชีอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 เดือนในการส่งต่อข้อมูลไปให้กับสำนักงานบัญชีใหม่

3. ขอรหัสผ่านต่างๆ

  • รหัสผ่าน DBD e-Filing
  • รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
  • รหัสผ่านทำธุรกรรมผ่านอินเตอร์เน็ตประกันสังคม

ช่วงที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี คือ ตอนเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย : onesiri-acc.com

 3562
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
กรณีที่บุคคลใดยื่นแบบภาษีภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์