ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย



ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT)
คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง


แต่ก่อนอื่น เราจะต้องแบ่งให้ได้ก่อนว่าภาษีซื้อ และภาษีขายคืออะไร

ภาษีขาย คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ ว่าง่ายๆก็คือ เราขายสินค้าออกไปเราก็ต้องเก็บ VAT เพื่อส่งให้แก่กรมสรรพากร

ในทางกลับกัน ภาษีซื้อ ก็คือภาษีที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บ เมื่อเกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการให้แก่เราก็จะเก็บส่วนหนึ่งที่ว่านี้ไปจ่าย สรรพากร

เพราะฉะนั้นเมื่อเราจ่ายภาษีซื้อให้คนอื่น เราก็ต้องเก็บภาษีขายเพื่อไปจ่ายสรรพากรเช่นกัน หากเราไม่คำนวณราคาสินค้าให้ดีหรือไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มลงไปในราคาสินค้า ให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วคนที่จะต้องแบกรับภาษีก็คือ บริษัทของเรานั่นเอง

แต่ถ้าถามว่าจริงๆแล้วใครเป็นคนแบกรับภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนนี้ คำตอบก็คือผู้บริโภค เพราะธุรกิจต้องจ่ายภาษีซื้อ แต่ก็สามารถเก็บภาษีขายมา ได้ด้วยเช่นกัน ผู้บริโภคต่างหากที่เป็นผู้แบกรับ เพราะผู้บริโภคสุดท้ายเป็นผู้จ่ายภาษีซื้อ และเมื่อบริโภคไป ไม่มีผลผลิตออกมา ทำให้ไม่สามารถขายออกไปได้จึงไม่มีภาษีขาย

การใช้ระบบที่รวมภาษีซื้อลงในราคาสินค้าทำให้ผู้บริโภคโดยทั่วไปไม่เห็น ราคาสินค้าที่แท้จริง และไม่เห็นจำนวนภาษีที่จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่รู้ตัวว่าเป็นผู้แบกรับภาษีอยู่ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับบริษัทหากไม่รู้จักภาษีมูลค่าเพิ่มสุดท้ายก็ต้องจ่าย สองครั้ง นั่นก็คือจ่ายเมื่อตอนซื้อสินค้ามา หรือจ่ายให้กับซัพพลายเออร์ และจ่ายให้กับสรรพากรโดยแบกรับภาษีตัวนี้แทนลูกค้าเสียเอง นั่นทำให้บริษัทจำเป็นต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม มิเช่นนั้นบริษัทก็จะแบกค่าใช้จ่ายส่วนนี้เองโดยไม่รู้ตัว

ภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย แต่เดิมได้ถูกกำหนดไว้ที่ 10% แต่เมื่อหลายปีก่อนรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้มีการใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อให้มีแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จึงได้ลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือเพียงแค่ 7%

วิธีการคำนวณ VAT

จำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าราคาสินค้าที่ซัพพลายเออร์ (Supplier) เป็นผู้กำหนดนั้นเป็นราคาที่รวม VAT แล้วหรือยัง หากเป็นราคาที่รวมแล้ว จำเป็นจะต้องแยกออกมาโดยคำนวณให้ราคาสินค้าที่รวม VAT มีค่าเท่ากับ 107% หลังจากนั้นให้แยกราคาสินค้า และ VAT ออกจากกัน โดยให้ราคาสินค้าเท่ากับ 100% และ คำนวณให้ภาษีมูลค่าเพิ่มมีค่าเท่ากับ 7%

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ซื้อแป้งมาในราคา 500 บาท ซึ่งเป็นราคาที่รวม VAT แล้ว จะต้องเทียบ 500 บาทให้เท่ากับ 107% แล้วแยกราคาสินค้ากับภาษีมูลค่าเพิ่มออกมา ซึ่งใช้วิธีเทียบบัญญัติ ไตรยางค์ปกติก็ได้

นั่นหมายความว่า จากราคาสินค้าทั้งหมด เราได้จ่าย VAT ออกไปแล้ว 32.71 บาท บริษัทที่ขายสินค้าให้เรามีหน้าที่เก็บเงินส่วนนี้ไปให้กรมสรรพาการ และราคาสินค้าจริงๆจะอยู่ที่ 467.29 บาท

แต่ถ้าราคา 500 บาทเป็นราคาที่ไม่ได้รวม VAT เอาไว้ด้วย ราคาที่รวม VAT แล้วจะเป็น 535 บาท โดยเทียบสัดส่วนง่ายเหมือนข้างบน โดยหา 7% จาก 500 บาท ซึ่งก็คือ 35 บาท ทำให้ราคาสินค้ารวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้เท่ากับ 535 บาท ซึ่งโดยทั่วไปใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ก็จะแยกแสดงราคาสินค้า และภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ให้ดูเรียบร้อย

วิธีการคำนวณภาษีที่ต้องนำไปชำระ

ให้แบ่งภาษีซื้อและภาษีขายออกมาแล้วนำมาลบกัน เพราะภาษีซื้อก็คือภาษีที่ถือว่าเราจ่ายไปแล้ว ไม่ต้องนำส่งด้วยตัวเองอีก ซึ่งแตกต่างจากภาษีขาย ซึ่งเราเป็นผู้เก็บ เพราะฉะนั้นเราจะต้องเก็บ 7% ไว้เพื่อไปนำส่งในงวดที่จะถึง ซึ่งตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สำหรับธุรกิจโดยทั่วไปไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง หากมี Tax Invoice ที่เรียบร้อย เพราะในเอกสารจะมีการแยกภาษีให้ชัดเจน ซึ่งเท่ากับว่าคุณไม่ต้องคำนวณภาษีซื้อแล้ว ส่วนภาษีขายคุณก็สามารถกำหนดราคาได้เองว่าต้องรวม VAT กี่เปอร์เซ็นต์ จึงไม่ใช่เรื่องอยากในการคำนวณหากภาษีที่จะต้องนำส่ง

ยกตัวอย่างเช่น สินค้าที่มีราคารวม VAT เท่ากับ 535 บาท สามารถแยกออกมาได้เป็นราคาสินค้า 500 บาท และภาษีซื้อ 35 บาท เมื่อขายสินค้าออกไปในราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่ากับ 2,140 บาท ก็จะแยกออกได้เป็น ราคาสินค้าอย่างเดียว 2,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 140 บาท เพราะฉะนั้นคุณจะต้องนำจ่ายสรรพากร 105 บาท (140-35)

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากให้คำนึงถึง คือ สินค้าและบริการบางอย่างได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ปุ๋ย และสินค้าบางอย่างที่ไม่ส่งออก การให้บริการประกอบโรคศิลป์ การสอบบัญชี การว่าความ การให้บริการวิจัย การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ล้วนแต่ได้รับการละเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณเองก็ควรดูว่าธุรกิจของคุณนั้นได้รับยกเว้นภาษีหรือเปล่า

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



บทความโดย :  incquity.com
 551
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งในการบริหารธุรกิจ เพราะเมื่อธุรกิจมีการสต๊อกสินค้า หมายถึง การมีต้นทุนหรือการที่ธุรกิจต้องจ่ายเงินออกไป เมื่อสินค้าขายไม่ออกกลายเป็นสินค้าคงค้างเป็นเวลานาน จากต้นทุนก็อาจกลายมาเป็นค่าใช้จ่ายเพราะไม่สามารถขายคืนทุนได้ การบริหาร หรือการจัดการสินค้าคงค้างให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญนั่นเอง 
ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
ความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทุกประเภทเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน การจัดวางระบบการเงินและการบัญชีเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะนอกจากจะทำให้เราทราบสถานะของกิจการว่ามีผลกำไรขาดทุนหรือไม่อย่างไร การจัดทำบัญชีและการเงินยังช่วยให้เราทราบข้อมูลของกิจการ เช่น ทราบจำนวนทรัพย์สิน หนี้สิน
e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์