ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ

ที่ปรึกษาด้านภาษีสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ


      เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง

        หากคุณต้องการผู้ช่วยสักคนในองค์กร เพื่อปรับปรุงความมั่นคงทางการเงินคุณควรให้ความสนใจไปที่ที่ปรึกษาด้านบัญชีหรือไม่ก็ที่ปรึกษาด้านภาษี  เพราะการให้คำปรึกษาด้านภาษีช่วยให้ผู้คนตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ การมีที่ปรึกษาด้านบัญชีจะช่วยให้ลูกค้าปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านภาษีและช่วยให้สามารถเก็บเงินไว้ได้มากขึ้น

ที่ปรึกษาด้านภาษี คือใคร?

        ที่ปรึกษาด้านภาษี คือผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษี และให้คำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเงินด้วยบ้าง ในบางครั้ง ที่ปรึกษาด้านภาษีจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการการยื่นภาษี คืนภาษีและเรื่องการเงินต่าง ๆ รวมถึงการจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ นอกเหนือจากการให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาษีที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า ที่ปรึกษาด้านภาษียังมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านภาษี

        ทั้งผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล อาจจะกังวลว่าตนเองดำเนินธุรกิจแล้วเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หรือเสียภาษีครบถ้วน หรือถูกต้องหรือไม่ การมีที่ปรึกษาด้านภาษีจะช่วยให้คุณสามารถจัดการภาษีได้ดีมากขึ้น

        ที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ได้ช่วยธุรกิจจัดการภาษีอากรอย่างเดียว แต่ในบางสำนักบัญชีหรือบริษัทที่ให้บริการที่ปรึกษาด้านภาษียังให้บริการครอบคลุมถึงงานด้านทำบัญชีด้วย ซึ่งจะง่ายต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงควรมีที่ปรึกษาด้านภาษีในธุรกิจด้วย

ที่ปรึกษาด้าน ทำงานและให้บริการด้านใดบ้าง?

  • ให้แนวทางในการวางแผนภาษีในแต่ละปี เพื่อประหยัดค่าภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อาทิเช่น การบริจาคหรือซื้อสินค้า เพื่อลดหย่อนภาษี เป็นต้น
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ยังได้รับคำปรึกษาด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT)*
  • สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล จะได้รับคำแนะนำด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)**
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารทางด้านบัญชี ที่จะนำมาใช้ในการยื่นภาษีและเสียภาษี

        ข้อดีของการมีที่ปรึกษาด้านภาษี ไม่ใช่แค่เป็นที่ปรึกษาด้านภาษีเท่านั้น นอกจากงานด้านภาษีที่จะทำให้เอกสารและงานด้านภาษีถูกต้อง ชัดเจนแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงทางด้านภาษี เพราะจะแนะนำจุดผิดพลาดที่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของเงินที่ม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี


ที่มา : www.ar.co.th

 446
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
ภ.พ.36 คือ แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร ใช้เมื่อได้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ฯ
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์