สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีกี่ประเภท

สำนักงานบัญชี ผู้รับทำบัญชี มีกี่ประเภท



การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน

1. ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ

คือผู้ที่รับจ้างทำบัญชีในนามบุคคลธรรมดา  ไม่ได้มีการจดจัดตั้งเป็นนิติบุคคล  
  
แม้จะประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่านิติบุคคล  เช่น ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ อาจจะมีงานประจำอยู่แล้ว  และนำความรู้ความสามารถที่มีมารับจ้างทำบัญชี ในนามส่วนตัวเพิ่มเติม ก็เป็นไปได้

งานบัญชีเป็นงานวิชาชีพ รูปแบบกิจการจึงไม่ได้สำคัญไปกว่าความรู้ความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพท่านนั้นๆ

2. นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี

สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดให้ “นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี” ไม่ว่าจะทำบัญชี หรือ สอบบัญชี ต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 30 วัน หลังจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แล้วเสร็จ

โดยนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีนั้น จะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี 

เมื่อขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สภาวิชาชีพวิชาชีพบัญชีจะออกหนังสือรับรองตามตัวอย่างด้านล่างนี้ให้  ผู้ประกอบการสามารถขอตรวจสอบหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีจากสำนักงานบัญชีได้

3. สำนักงานบัญชีคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเป็นที่น่าเชื่อถือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองคุณภาพ ให้แก่สำนักงานบัญชีที่ผ่านการตรวจประเมินการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี

โดยคุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักงานบัญชีที่มีสิทธิจะเข้าร่วมการรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ คือ

  1. สำนักงานบัญชีซึ่งรับทำบัญชีของธุรกิจ ไม่น้อยกว่า 30 ราย
  2. หัวหน้าสำนักงานต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีต่อกรมไว้แล้ว
  3. มีผู้ช่วยผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี และปฏิบัติงานเต็มเวลา อย่างน้อย 1 คน
  4. มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  5. ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
  6. หัวหน้าสำนักงานต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  7. ในกรณีที่สำนักงานบัญชีจัดตั้งในรูปคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือกรรมการ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการให้บริการรับทำบัญชีต้องมีคุณสมบัติตาม 2 และ 6 ด้วย

สำนักงานบัญชีซึ่งผ่านการประเมินคุณภาพจะได้รับหนังสือรับรองตามตัวอย่างด้านล่างนี้ ซึ่งมีกำหนดอายุ 3 ปี

หากสำนักงานบัญชีใดอ้างว่าเป็นสำนักงานบัญชีคุณภาพ ผู้ประกอบการสามารถขอตรวจสอบหนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ ซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้านี้ได้

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : โดย Accounting Center

 1172
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดการการเงินของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย, ใบเสร็จและสเปรดชีตของรายได้ จำเป็นต้องใช้วิธีต่าง ๆ ในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งถ้าหากไม่รอบคอบอาจมีความเสี่ยงทำให้ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยซอฟต์แวร์หรือระบบบัญชีที่ถูกต้อง โดยการจัดเตรียมไฟล์บัญชีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาของการเสียภาษี ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาพึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์บัญชีเพราะมันสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากมายดังต่อไปนี้
ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์