3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ

3 วิธีการประหยัดภาษีแบบผิดๆ ที่ไม่ควรทำ


หากเราเลือกวิธีการประหยัดภาษีต่างๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจทำให้เกิดอันตรายต่อฐานะการเงินของเราได้ กรมสรรพากรจะตรวจสอบว่า วิธีการที่เราใช้นั้นมันผิดกฎหมายจนทำให้ชำระภาษีขาดไป อาจจะเป็นเรื่องใหญ่แน่
บทความในวันนี้ @TAXBugnoms เลยตั้งใจจะมาพูดถึงวิธีการประหยัดภาษีแบบผิด ๆ ที่ไม่ควรทำว่ามีวิธีไหน อะไรบ้าง 

1. ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย
       วิธีนี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพียงแค่ไม่ต้องจ่ายก็จบแบบง่าย ๆ แล้วครับ แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ถ้าหากเราโดนจับได้ขึ้นมา แปลว่าเรากำลังทำผิดกฎหมายอยู่นะครับ ซึ่งมีผลทำให้เราอาจจะต้องเสียภาษีพร้อมเบี้ยปรับ (ค่าปรับ) และเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) สูงถึง 4 เท่าของภาษีที่เราต้องจ่ายกันเลยทีเดียวครับ
บางคนอาจจะบอกว่า ไม่อยากจ่ายภาษี เพราะกลัวว่าภาษีที่จ่ายไปจะไม่ถูกใช้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าตัวเราเองยังทำผิดกฎหมายไปด้วย แบบนี้ก็คงเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ?

2. กระจายรายได้แบบผิด ๆ
       นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกันครับ แต่ขอบอกเลยครับว่าวิธีนี้เป็นที่ฮอตฮิตมาก ๆ สำหรับการประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเลยทีเดียว วิธีการก็ไม่มีอะไรยาก แค่ไปหาชื่อคนอื่นมารับรายได้แทนเราเพื่อทำให้เราเสียภาษีน้อยลง เพราะอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบก้าวหน้า (ยิ่งมีรายได้มากยิ่งเสียในอัตราที่สูงขึ้น) ดังนั้นเมื่อแบ่งกระจายกันไปให้ทั่ว ๆ กัน ก็ย่อมเสียภาษีน้อยลงเป็นธรรมดา แต่ปัญหายังไม่จบครับ เพราะเราอาจเจอเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
 
       ต้องเสียเพิ่ม : คนที่เราแบ่งรายได้ให้ไปนั้นอาจจะมีรายได้อยู่แล้ว อาจจะเป็นว่าต้องเสียภาษีแพงกว่าเดิมก็ได้ แบบนี้ก็คงเป็นปัญหาชีวิตที่วุ่นวายทางหนึ่ง หรือ
 
       โดนจับได้ : ถูกสรรพากรตรวจสอบได้ว่าเป็นการกระจายรายได้เพื่อเลี่ยงภาษี ซึ่งผิดกฎหมาย เพราะผู้ที่มีรายได้จริง ๆ คือเรา แบบนี้ก็อาจจะทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มในส่วนที่ขาดไปพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเช่นเดียวกันครับ
ดังนั้น ถ้าอยากจะกระจายรายได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องวางแผนให้ชัดเจนและถูกต้อง คือ ตัวผู้มีรายได้เองต้องเป็นคนที่ดำเนินกิจการ รับงานจ้าง หรือทำธุรกิจนั้น ๆ จริง ๆ เพื่อให้มีรายได้ และนั่นคือสิ่งถูกต้องที่เราควรทำครับ

3. สร้างหลักฐานเท็จ
       หลบเลี่ยงรายได้ สร้างค่าใช้จ่ายเพิ่ม เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง โดยวิธีการสร้างหลักฐานเท็จเพื่อประหยัดภาษีนั้นถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกันครับ เพราะการหลบเลี่ยงรายได้ หรือสร้างเอกสารค่าใช้จ่ายปลอมนั้น มีความสุ่มเสี่ยงที่จะโดนตรวจสอบภาษี และถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าผิดจริง แบบนี้รับรองครับว่า พี่สรรพากรตามติดไม่มีปล่อยไปอีกนานแน่ ๆ ดังนั้นทางที่ดีอย่างคิดลองดีกว่าครับ


แหล่งที่มา : ขอขอบคุณ TAXBugnoms
 440
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
แผนกจัดซื้อเป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้อง
เงินมัดจำ (อังกฤษ: earnest) คือ เงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นอันมีค่าในตัวซึ่งให้ไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานว่าได้มีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์