ควรเปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลเมื่อไหร่

ควรเปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลเมื่อไหร่


การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน

1. การทำธุรกิจแบบ  "บุคคลธรรมดา"
ส่วนมากจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เจ้าของลงทุนคนเดียว หรือในลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่ได้จดทะเบียน) ซึ่งมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงทำธุรกิจและแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน แต่มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา โดยธุรกิจรูปแบบนี้ไม่ต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี แต่จะต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ จ่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายได้ รายจ่าย ผลกําไรหรือขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจ และใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. การทำธุรกิจแบบนิติบุคคลธุรกิจในรูปแบบ “นิติบุคคล”
จะมีทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  รูปแบบนี้จะต้องมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชี พร้อมทั้งมีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี แน่นอนว่า ธุรกิจในรูปแบบนี้ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ส่งผลให้การขยายกิจการ การติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่การเข้าถึงแหล่งเงินทุน สามารถทำได้ง่ายกว่าเช่นกัน เพราะมีข้อมูลทางบัญชีที่น่าเชื่อถือ ทำให้ธนาคารรู้ฐานะที่แท้จริงของกิจการ ขณะเดียวกัน สามารถนำไป วางแผนบริหารจัดการธุรกิจได้

หลักการพิจารณาในการเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล

1. สิ่งที่ต้องรู้ก่อน คือ “กำไรของธุรกิจ”
มองว่ากำไรที่แท้จริงของธุรกิจที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น มีเท่าไรและจำนวนภาษีที่ต้องเสียนั้นอยู่ในจุดที่เรารับได้ไหม?

2. มองถึงต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
เช่น ค่าจ้างพนักงาน ต้นทุนต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นหลังจากจดทะเบียนนิติบุคคลมากแค่ไหน ทั้งต้นทุนที่เป็นตัวเงินและเวลาที่เกิดขึ้น

3. เปรียบเทียบความชัดเจนของข้อ 1 และ 2 ว่าคุ้มค่าจริงหรือเปล่า?
ประกอบกับประโยชน์ที่เราจะได้รับในประเด็นอื่นๆ เช่นความสะดวกในการจัดการกิจการ และการดูแลต่างๆ ทางด้านการเงิน อย่างเช่นการขอกู้ยืมเงิน รวมถึงความน่าเชื่อถือต่างๆ

เมื่อตัดสินใจที่จะเปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลแล้ว กิจการต้องเตรียมเพื่อการทำบัญชีและเสียภาษีได้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : www.smeone.com , TAXBugnoms (บล็อกภาษีข้างถนน)

 536
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์