ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร

ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไร


ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า

          1. กรณีลูกค้าเลยกำหนดจ่าย: นัดเจรจาเพื่อหาแนวทางแก้ไข
          2. เจรจาเพื่อหาข้อสรุป เช่น เลื่อนการจ่ายออกไปโดยกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนว่าจะได้รับเมื่อไร และมีเงื่อนไข ถ้าไม่ทำตามสัญญา เช่น คิดค่าปรับ คิดดอกเบี้ยเพิ่ม
          3. ถ้าลูกค้าประสบปัญหาเช่นงานไม่มีเพิ่มเข้ามาหรืองานเก่าเก็บเงินไม่ได้ อาจหาทางอื่นเพื่อเก็บหลักประกันเพิ่มเติมเช่นขอโฉนดที่ดินมาเก็บไว้เพื่อเป็นการประกันการจ่ายเงิน
          4. ถ้าลูกค้าไม่มีหลักประกัน อาจให้ลูกค้าทยอยจ่าย อาจแบ่งเป็นงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน หรือตามที่ลูกค้าคาดว่าจะเก็บได้
          5. ถ้าลูกค้ายังผิดนัดชำระ ให้ทำหนังสือแจ้ง เรื่องหนี้ และกำหนดมาตรการหากลูกค้ายังผิดนัดชำระอีก เช่น ทำบัญชีลูกหนี้ที่มีปัญหา, ทำเรื่องส่งทนายฟ้องศาล

มาตรการป้องกันในอนาคต

          1. จัดทำบัญชีลูกหนี้ และมีการประเมินคุณภาพหนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น การแยกอายุหนี้ 30 วัน, 60 วัน, หรือมากกว่า 90 วัน และกำหนดมาตรการกับลูกค้าแต่ละอายุ เช่นการลดส่วนลดที่เคยให้ ลดวงเงินเครดิต หรือเพิ่มดอกเบี้ยเป็นต้น
          2. มีการกำหนดวงเงินลูกค้าแต่ละรายและกำหนดอายุหนี้ให้สั้นลง หากลูกค้าผิดนัด โดยไม่มีเหตุผล
          3. มีการกำหนดหลักทรัพย์ค้ำประกัน สำหรับลูกค้ารายใหม่ที่มีวงเงินเครดิตสูง ๆ เช่น 1 ล้านขึ้นไปต้องวางตั๋วอาวัลไว้ 1 ล้านบาทเป็นต้น
          4. ขายเงินสดสำหรับลูกค้ารายใหม่ โดยไม่ปล่อยเครดิตง่ายจนเกินไป ต้องซื้อขายกันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี มีการซื้อต่อเนื่อง
          5. ถ้าลูกค้ารายไหนจ่ายเงินตรงตามเวลาและกำหนด ก็จะมีส่วนลดเพิ่มให้เป็นพิเศษหรือจ่ายเป็นรางวัลปลายปีให้ลูกค้ารายนั้น ๆ
          6. พยายามไม่ให้ลูกค้ามีวงเงินหนี้คงค้างเป็นจำนวนมากเกินกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยของลูกค้าแต่ละราย เพื่อเป็นการป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : www.accountancy.in.th

 731
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์