ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน



การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี            

การปิดบัญชี (Closing  Entries)  หมายถึง  การโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีทุน  ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว ได้แก่บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ และบัญชีค่าใช้จ่าย ไปยังบัญชีทุน  เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีทุนที่ถูกต้อง  ณ วันสิ้นงวดบัญชี รวมทั้งการหายอด คงเหลือ ของบัญชีสินทรัพย์ และหนี้สิน  ซึ่งหลังจากทำการปิดบัญชีแล้ว บัญชีที่เหลืออยู่ ได้แก่ บัญชีสินทรัพย์  บัญชีหนี้สิน  และบัญชีทุน  เพื่อยกไปยังงวดบัญชีถัดไป

การ ปิดบัญชี มีกี่ประเภท

การปิดบัญชี ประจำวัน คือ การปิดบัญชีในสมุดเงินสดทุกสิ้นวัน เพื่อทราบจำนวนเงินสดในบัญชีทุกวัน

การปิดบัญชี ประจำเดือน คือ การปิดบัญชี ในสมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า  รายการภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดรายได้ขายสินค้า ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดทำงบทดลอง

การปิดบัญชี ประจำปี คือ การปิดบัญชีทุกบัญชีในสมุดรายวันแยกประเภท ภายหลังจากได้รับมีการปรับปรุงรายการ รับรู้รายได้ ค่าใช้จ่ายในงวด มีการบันทึกค่าเสื่อมราคา ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อประมาณการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ เพื่อจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน​ : ขั้นตอนในการปิดบัญชี

การปิดบัญชีจะบันทึกตามหลักการบัญชีปกติ  คือ  จะทำการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทดังนี้

 1.  บันทึกรายการปิดบัญชีประเภทรายได้และประเภทค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันทั่วไป 

 2.  ผ่านรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป  ไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง  การปิดบัญชีมีขั้นตอนดังนี้

 ขั้นตอนที่  1  บันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

                          1.1  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.2  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.3  บันทึกรายการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของ(ทุน)
                          1.4  บันทึกรายการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวหรือเงินถอนเข้าบัญชีทุน

 ขั้นตอนที่  2  ผ่านรายการปิดบัญชี  จากสมุดรายวันทั่วไปไปยังสมุดแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  3  การปิดบัญชีทรัพย์สิน  หนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  4  การจัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชี

 ขั้นตอนที่  5  ปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวด เช่น รายได้รับล่วงหน้า / ค้างรับ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า / ค้างจ่าย หนี้สงสัญจะสูญ วัสดุสิ้นเปลอง ค่าเสื่อมราคา

 ขั้นตอนที่  6  การจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงรายการ

 ขั้นตอนที่  7 จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน : การปิดรายได้ ค่าใช้จ่าย

ปิดบัญชี รายได้ และ ค่าใช้จ่าย เข้าบัญชี ต้นทุนการขาย ต้นทุนการผลิต ต้นทุนบริการ และบันทึกวัตถุดิบสิ้นปี

 DR    ต้นทุนการผลิต
           สินค้า / วัตถุดิบปลายปี
           ส่งคืนสินค้า /วัตถุดิบ
           ส่วนลดรับสินค้า /วัตถุดิบ
              CR  สินค้า / วัตถุดิบต้นปี
                      ซื้อสินค้า / วัตถุดิบ
                      ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
                      ค่าใช้จ่ายในการผลิต

ปิดบัญชี รายได้ ต้นทุน และ ค่าใช้จ่าย เพื่อหากำไรสุทธิ / ขาดทุนสุทธิ

ปิดบัญชี สินทรัพย์ หนี้สิน และ ทุน เพื่อคำนวณหายอดยกไป และแสดงยอดไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน ตามประเภทของบัญชี ณ วันสิ้นปี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.beeaccountant.com

 311
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินฝากธนาคาร (Bank Commercial) 5 ประเภท มี กี่ แบบ อะไรบ้าง 
การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์