คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"

คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"


ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง

อันดับแรกมาดูที่ ประเภทเงินได้ก่อน

  • 1.เงินเดือน มาตรา 40 (1) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 2.รับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ มาตรา 40 (2) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา  50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 3.ขายสินค้า มาตรา 40 (8) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 60% หรือหักตามจริง (ต้องมีเอกสารหลักฐาน)
นอกจากนี้ในส่วนของรายได้ที่เข้าร่วมโครงการรัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง ม.33 เรารักกัน เป็นรายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
  • 1.เงินที่ได้จากลูกค้าผ่านโครงการรัฐ
  • 2.เงินสนับสนุนที่ได้จากรัฐ
  • 3.เงินที่ได้มาจากยอดขายอื่นๆ

ต่อมาเป็น เกณฑ์การเสียภาษี

  • คนโสด รายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี
  • มีคู่สมรสรายได้รวมกัน 120,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี

วิธีการคำนวณ

  • วิธีปกติ = รายได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี  (ไม่รวมเงินเดือน) ใช้สูตรคำนวณ = รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีการคำนวณปกติ)
กำหนดเวลายื่นแบบ
  • ภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค.-3. ก.ย. ของปีนั้นๆ โดยนำเงินได้ที่ไม่ใช้เงินได้
  • มาตรา 40 (1) (2) ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ของปีนั้นมารวมคำนวณภาษี
  • ภาษีประจำปี ภ.ง.ด.90 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. ของปีถัดไปโดยนำเงินได้ทุกประเภท ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษีและนำภาษีที่ชำระตาม ภ.ง.ด.94 มาเครดิตภาษีได้
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ หรือผู้ที่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเกินปีละ 1.8 ล้านบาทต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กับทางกรมสรรพากร โดยผู้ที่ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อขายสินค้า/บริการ จะต้องออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพื่อนำส่งสรรพากร และต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



CR. : https://www.pptvhd36.com/
 344
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
ปัจจุบันเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือยุค AEC ภาษาอังกฤษจึงถือเป็นภาษาหลักและกลายเป็นวิชาบังคับในหลายสถาบันการศึกษา ด้วยความหลากหลายทางธุรกิจและเชื้อชาติในการทำงานร่วมกันการสื่อสารจึงจำเป็นอย่างมาก
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์