เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง

เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง



ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ เรื่องที่สำคัญคืออะไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบค่ะ

1.ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนสำนักงานบัญชีตอนไหนดี

2.ต้องเตรียมการแจ้งสำนักงานบัญชีเก่าตั้งแต่เนิ่นๆ

3.กำหนดเวลาในการส่งคืนเอกสารและงบการเงินให้แน่นอน

4.ต้องขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืนทั้งหมด

5.ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี

6.ขอรหัสผ่านต่างๆ      

7.กิจการควรมองหาและติดต่อสำนักงานบัญชีแห่งใหม่ไว้ให้เรียบร้อย

ก่อนตัดสินใจว่าจะ เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ตอนไหนดี สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจคือ

– เปลี่ยนทันที โดยปกติสำนักงานบัญชีที่เดิมจะต้องใช้เวลาในการปิดงบ จนถึงวันล่าสุด รวมถึงจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อส่งต่อให้กับคนที่จะมาดูแลบัญชีต่อ แต่หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนทัน ในกรณีนี้อาจจะต้องจ่ายค่าทำบัญชีซ้ำซ้อน เพราะสำนักงานบัญชีใหม่ต้องย้อนดูหรือเริ่มต้นทำใหม่ตั้งแต่ต้นปี หรือจนถึงข้อมูลที่กิจการมีล่าสุด อีกทั้งการเปลี่ยนสำนักงานบัญชีทันที อาจต้องเสียค่าปรับการยกเลิกก่อนครบสัญญ กับสำนักงานบัญชีที่เดิมก็เป็นได้

– รอให้จบรอบบัญชีก่อนค่อยเปลี่ยน เพื่อความต่อเนื่อง หากเป็นกรณีนี้ ควรคำนวณด้วยว่าหากยังใช้สำนักงานบัญชีเดิมอยู่ไปจนจบรอบบัญชี อาจทำให้ก่อความเสียหายมากกว่าหรือไม่ (หากสำนักงานบัญชีเดิมไม่รับผิดชอบงาน อาจทำให้กิจการได้ข้อมูลจากการบันทึกบัญชีที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดภาระค่าปรับภาษี หรือค่าปรับอื่นๆ)

ก่อน เปลี่ยนสำนักงานบัญชี แจ้งสำนักงานบัญชีเก่าตั้งแต่เนิ่นๆ

และถ้าหากตัดสินใจได้แล้วว่าจะเปลี่ยนสำนักงานบัญชีช่วงไหน กิจการจำเป็นต้องเตรียมการแจ้งสำนักงานบัญชีเก่าตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะต้องให้เวลากับสำนักงานบัญชีเก่า ในการปิดบัญชีและเคลียร์เอกสารเพื่อส่งต่อข้อมูลให้กับสำนักงานบัญชีใหม่ ซึ่งโดยทั่วไปสำนักงานบัญชีอาจต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในการปิดบัญชีและเคลียร์เอกสาร

กำหนดเวลาในการส่งคืนเอกสารและงบการเงินให้แน่นอน

กิจการควรกำหนดเวลาในการส่งคืนเอกสารและงบการเงินกลับมายังกิจการให้แน่นอน เพื่อให้ส่งมอบงานกับสำนักงานบัญชีใหม่ได้อย่างตรงเวลานัดหมาย เพราะถ้าหากไม่กำหนดเวลาส่งคืนที่ชัดเจน กิจการก็จะไม่สามารถนัดวันส่งเอกสารให้กับสำนักงานบัญชีแห่งใหม่ได้

และอาจทำให้เกิดความยืดเยื้อยาวนานเกินไป หรือโดนบ่ายเบี่ยงจากสำนักงานบัญชีเก่า ด้วยสาเหตุอื่นใดที่ไม่สามารถส่งคืนงานได้ หากสำนักงานบัญชีเก่าทำเอกสารหาย จนเป็นสาเหตุของการยืดเวลาการส่งมอบคืนเอกสาร ปัญหาอาจจะเข้ากิจการขึ้นมาก็ได้ เพราะตามกฎหมายได้กำหนดให้กิจการต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้อย่างน้อย 5 ปีด้วย

ต้องขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืนทั้งหมด

และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา กิจการต้องขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืนทั้งหมด ได้แก่

– บิลซื้อขาย และใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เคยส่งให้สำนักงานบัญชี

– แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จรับเงินภาษีที่ยื่นชำระแล้ว ( เช่น ภ.ง.ด.1, 3, 53 ภ.พ.30 ภ.ง.ด.50,51)

– แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

– ต้นฉบับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ลูกค้าได้หักไว้

– สำเนาหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่กิจการได้หักลูกค้าไว้ (ทำ ภ.ง.ด.1, 3, 53)

– Bank Statement ทุกธนาคารของกิจการ

– เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี

นอกจากเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีที่ต้องขอคืนทั้งหมดแล้ว ข้อมูลการบันทึกบัญชีก็มีความจำเป็นที่ต้องขอคืนด้วย เช่น

– งบทดลอง (TB)

– สมุดรายวันแยกประเภท (GL) เช่น สมุดรายวันซื้อ, ขาย, รับเงิน, จ่ายเงิน, ทั่วไป

– ทะเบียนทรัพย์สิน

– ทะเบียนลูกหนี้ และเจ้าหนี้

– รายละเอียดประกอบยอดคงเหลือของสินทรัพย์และหนี้สิน

ขอรหัสผ่านต่างๆ

รหัสผ่านที่ใช้ติดต่อทำธุรกรรมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งกรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจ และประกันสังคม กิจการจำเป็นต้องขอจากสำนักงานบัญชีเก่าด้วย เพื่อส่งต่อให้สำนักงานบัญชีใหม่ได้ทำต่อได้ ซึ่งประกอบด้วย

– ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบ DBD e-Filling ของกรมพัฒนาธุรกิจ

– ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบจ่ายภาษีออนไลน์ ของกรมสรรพากร

– ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบทำธุรกรรมของสำนักงานประกันสังคม (ถ้ามี)

ก่อน เปลี่ยนสำนักงานบัญชี กิจการควรมองหาและติดต่อสำนักงานบัญชีแห่งใหม่ไว้ให้เรียบร้อย

โดยระหว่างที่สำนักงานบัญชีเก่ากำลังนี้เคลียร์ทุกอย่างส่งคืนให้กับกิจการ ทางด้านกิจการเองก็ควรมองหาและติดต่อสำนักงานบัญชีแห่งใหม่ ที่มีบริการรับทำบัญชีไว้ให้เรียบร้อย โดยควรเลือกจาก…

– ราคาที่มีความสมเหตุสมผลกับเนื้องาน ไม่ถูกหรือแพงจนเกินไป เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพสมราคา และป้องกันการหนีหายเมื่อได้เงินก้อนโตจากกิจการ

– ติดต่อง่าย สะดวก รวดเร็ว ควรเลือกสำนักงานบัญชีที่ติดต่อได้ง่าย และมีการจัดสรรผู้ดูแลให้กับกิจการโดยเฉพาะไม่สลับคนดูแลไปมา เพื่อให้สะดวกในการติดต่อและรู้ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของกิจการ

– สำนักงานบัญชีมีตัวตนอยู่จริง มีหลักแหล่งชัดเจน เพื่อป้องกันการหนีหาย และกิจการสามารถไว้วางใจได้ว่าจะมีสำนักงานบัญชีค่อยช่วยเหลือตลอดเมื่อถูกตรวจสอบย้อนหลัง หรือถูกเรียกพบ

– สามารถให้คำปรึกษาเรื่องบัญชี ภาษีแก่กิจการได้ สำนักงานบัญชีควรมีความเข้าใจพื้นฐานในธุรกิจของกิจการ เพื่อสร้างคามเชื่อมั่นว่าจะสามารถให้คำปรึกษา และช่วยเหลือได้ตรงรูปแบบของธุรกิจจริง

– ขอบเขตบริการบัญชีที่ตกลงให้บริการ ควรเลือกให้ตรงกับความต้องการของกิจการ เพราะสำนักงานบัญชีบางแห่งก็มีบริการรับทำบัญชีและภาษีไม่ครบทุกเรื่อง

– มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความ สำนักงานบัญชีคุณภาพ แบบไหนที่ควรเลือก)

และเมื่อได้รับเอกสาร ข้อมูลต่างๆ ดังที่กล่าวมา รวมถึงเลือกสำนักงานบัญชีแห่งใหม่ได้เรียบร้อยแล้ว กิจการก็สามารถส่งต่องานบัญชีทั้งหมดไปยังสำนักงานบัญชีแห่งใหม่ได้อย่างไรครบถ้วนไร้กังวลแล้วค่ะ

ขอบคุณที่มา : https://inflowaccount.co.th/

 268
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน คือ เอกสารที่กรมสรรพากรออกมาให้ใช้ กรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว
ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
มีค่าใช้จ่ายตัวไหนบ้างที่มีสิทธิหักภาษีได้เพิ่มในแบบ ภ.ง.ด.50 สำหรับยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้ผู้ประกอบการเสียภาษีประจำปีน้อยลงบ้าง ลองไปสำรวจกันสักนิดในบทความนี้ค่ะ
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ดังนั้นลักษณะของป้ายที่เสียภาษี ? ก็คงเป็นป้ายที่เกี่ยวกับการค้าหรือกิจการหารายได้ต่างๆนั้นเอง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์