รายงานภาษีซื้อ ภาษีขายคืออะไรเรื่องนี้สำคัญมาก

รายงานภาษีซื้อ ภาษีขายคืออะไรเรื่องนี้สำคัญมาก


ภาษีขาย (
Output Tax)

หมายถึง  ในกรณีที่เป็นการขายสินค้า ทั้งนี้ให้รวมถึงการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่นำไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และมีสินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ณ วันเลิกประกอบกิจการ หรือวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอน หรือวันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีจากการให้บริการหรือใช้บริการของกิจการ ไม่รวมถึงเพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง และการนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์

ภาษีซื้อ (Input Tax)

หมายถึง  และให้หมายความรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้เสียเมื่อนำเข้าสินค้า ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้เสียเมื่อรับโอนสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมาย ว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งกรมสรรพากรจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการ และจากการชำระราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว รวมถึงจากการชำระราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร และจากการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิบริการในการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
รายงานภาษีซื้อ ภาษีขายคืออะไรเรื่องนี้สำคัญมาก

ผู้ประกอบการที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพร้อมออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและภาษีขายด้วย เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไร 

รายงานภาษีซื้อ คือ รายงานที่มีการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีซื้อ ที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บในการซื้อสินค้าและบริการ ตามหลักฐานใบกำกับภาษี ใบลดหนี้ ใบแจ้งหนี้หรือใบเสร็จรับเงิน ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็ให้บันทึกเป็นรายงานภาษีซื้อในเดือนนั้นๆ แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงรายการภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนเดียวกันได้ ผู้ประกอบการสามารถลงรายงานภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไป แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่เดือนที่ออกใบกำกับภาษี

รายงานภาษีขาย คือ รายงานที่จัดทำขึ้นมาเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีขายที่กิจการเรียกเก็บจากลูกค้าโดยภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใด กิจการต้องบันทึกรายการตามหลักฐานสำเนาใบกำกับภาษีขายที่ออกให้ลูกค้าในเดือนนั้นๆ

ในปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถออกรายงานภาษีซื้อและภาษีขายได้ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทันสมัย มีฟีเจอร์มากมายให้ผู้ประกอบการสามารถออกรายงานภาษีซื้อและภาษีขายได้แบบอัตโนมัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรได้กำหนดไว้

 348
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของกิจการทั้งที่เริ่มใหม่และทำมาระยะหนึ่งแล้ว คงต้องมีสำนักงานบัญชี คู่ใจเอาไว้จัดการเรื่องเอกสาร กฏหมายและปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี วันนี้เราเลยมีวิธีเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้ใช้ในการ เลือกสำนักงานบัญชีให้ดีและเหมาะสมเพื่อให้ให้เป็น ปัญหา มากกว่าตัวช่วยขอธุรกิจเราในภายหลัง
เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
หากความสำคัญของงบดุล (Balance Sheet) คือแผนผังแสดงโครงสร้างหลักของกิจการ เพราะเป็นรายงานที่บ่งบอกถึงสภาพความมั่นคงเชิงเปรียบเทียบระหว่างสภาพสินทรัพย์และหนี้สิน งบกำไร/ขาดทุน (Income Statement) ก็คงเปรียบได้กับแผนผังเส้นเลือดของกิจการ เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของกิจการทั้งหมดพร้อมแสดงออกมาในรูปกำไรหรือขาดทุนเพื่อบ่งบอกการเติบโตของกิจการ ซึ่งเป็นอีกรายงานทางการเงินที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์