ภาษีนิติบุคคลมีอะไรบ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการยื่นแก่สรรพากร

ภาษีนิติบุคคลมีอะไรบ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการยื่นแก่สรรพากร

1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล : คือ ภาษีจากกำไรสุทธิ (กำไรสุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย) ที่บริษัทนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายหากเข้าเกณฑ์ที่กำหนด (รายงาน ภ.ง.ด. 50 และ รายงาน ภ.ง.ด. 51)

รายงาน ภ.ง.ด. 50 คือ รายงานสำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

รายงาน ภ.ง.ด. 51 คือ รายงานสำหรับรอบครึ่งปี โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี


2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม : คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า โดยจะเก็บเฉพาะผู้ประกอบการมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% (รายงานภาษีซื้อ, รายงานภาษีขาย, รายงาน ภพ. 30) และรายงานต่าง ๆ ต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

รายงานภาษีซื้อ คือ เอกสารบันทึกจำนวนภาษีซื้อของกิจการที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บในแต่ละเดือนภาษีภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น

รายงานภาษีขาย คือ เอกสารบันทึกจำนวนภาษีขายของกิจการที่เรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละเดือนภาษี ภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น

รายงาน ภพ. 30 คือเอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน ไม่ว่าจะมีรายการซื้อขายหรือไม่

3.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : คือ ภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า ซึ่งภาษีประเภทนี้ สามารถขอคืนได้ภายหลังผ่านการขอลดหย่อนตามเงื่อนไขต่าง ๆ (หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย,รายงาน ภ.ง.ด. 2, รายงาน ภ.ง.ด. 3,
รายงาน ภ.ง.ด. 53, รายงาน ภ.ง.ด. 54 และ รายงาน ภพ. 36) แล้วนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

รายงาน ภ.ง.ด. 1 คือ เอกสารที่กิจการต้องแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีแล้วเท่านั้น เพื่อยื่นแก่สรรพากร

รายงาน ภ.ง.ด. 2 คือ แบบยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร หากบริษัทมีรายจ่ายที่เป็นเงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4)

  • เงินได้ประเภท 40(3) คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่า Goodwill
  • เงินได้ประเภท 40(4) คือ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล

รายงาน ภ.ง.ด. 3 คือ แบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคลที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท

รายงาน ภ.ง.ด. 53 คือ แบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน

รายงาน ภ.ง.ด. 54 คือ แบบยื่นหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายเงินได้ประเภท 40(2) – (6) ให้กับนิติบุคคลที่ตั้งตามกฏหมายต่างประเทศจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรโดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

  • เงินได้ประเภท 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
  • เงินได้ประเภท 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%

รายงาน ภพ. 36 คือ แบบยื่นที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย

หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือ เอกสารที่ผู้จ่ายเงินที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกให้ผู้รับเงินเมื่อได้ทำการหักเงินบางส่วนไว้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายนี้ต้องออกให้แก่ผู้รับเงิน 2 ฉบับที่มีข้อความตรงกัน

4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ : คือ ธุรกิจซึ่งดำเนินการในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ คือธุรกิจประเภท ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์, บริษัทประกันชีวิต, โรงรับจำนำ, กิจการประกอบการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทอสังหาริมทรัพย์ (รายงาน ภ.ธ.40) และรายงานต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม

รายงาน ภ.ธ. 40 คือ รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกลุ่มธุรกิจที่สรรพากรกำหนดไว้เท่านั้น

5.อากรแสตมป์ : คือ ภาษีที่จัดเก็บในรูปของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและหนังสือสัญญาต่าง ๆ (แบบ อ.ส. 4) ปกติเสียอากรแสตมป์ได้ 3 วิธี คือ 

1.ติดอากรแสตมป์ทับบนกระดาษแล้วขีดคร่อม
2.ติดแสตมป์ดุนบนกระดาษ (ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม)
3.
เสียอากรแสตมป์ด้วยเงินสด หรือแบบ อ.ส. 4 คือ แบบขอและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์ด้วยเงินสด เพราะกิจการต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์เป็นจำนวนมาก



ขอบคุณที่มา : กรมสรรพากร

 230
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินธุรกิจใดก็ตามมีจุดประสงค์ร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างคือ แสวงหากำไรหรือรายได้รายได้ให้ได้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าสินค้าก็เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในปัจจุบันผลผลิตของบริษัทแบ่งเป็นสองประเภทคือการขายสินค้าและการให้บริการ ซึ่งการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการจัดการสินค้าตั้งแต่การสั่งซื้อจนไปถึงการ ขายออกไปจำเป็นต้องอาศัยข้อสันนิษฐาน เพราะจำนวนสินค้าเข้าออกในแต่ละบริษัทมีจำนวนมาก และหากบันทึกสินค้าทุกชิ้นย่อมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง และประโยชน์ที่ได้รับก็อาจยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้อีกด้วย
ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้
แบบ ภ.ง.ด.94   : แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน  เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี  

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์