ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร


ลูกหนี้กรรมการคืออะไร

บัญชีลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ ถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ ซึ่งมีกรรมการเป็นผู้ยืมเงินไป และจะเคลียร์บัญชีนี้ได้ กรรมการจะต้องจ่ายชำระเงินคืนกลับมาแก่บริษัทเสียก่อน เรามักจะเจอรายการนี้บ่อยๆ ในงบแสดงฐานะการเงิน บ้างก็จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน บ้างก็เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

ลูกหนี้กรรมการเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการนั้นมีได้หลายแบบ เช่น

  • กรรมการยืมเงินออกไปจากกิจการจริงๆ
  • กรรมการนำเงินภายในกิจการไปใช้ส่วนตัว
  • จดทะเบียนบริษัท ระบุทุนชำระจำนวนมากแต่ไม่มีการชำระเงินกันจริง
  • เงินหายจากบริษัทสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่มีเอกสารประกอบการลงบัญชี หรือไม่ทราบสาเหตุ
  • ปิดบัญชีไม่ลงตัว นักบัญชีจึงบันทึกผลต่างในบัญชีนี้ก่อน
  • ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรไม่ยอมรับ จึงบันทึกไว้ในเงินให้กู้ยืมกรรมการ

ถ้าลองวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดลูกหนี้กรรมการแล้วจะพบว่า ถ้าเป็นการที่กรรมการยืมเงินไปใช้จริงๆ เราคงพอรับได้เพราะมันเป็นเรื่องที่คาดการณ์ไว้แต่ต้น แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวมา อาจจะต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่า ทุกวันนี้เราแยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและเงินธุรกิจกันอย่างไร เพราะเมื่อไรก็ตามที่ยังแยกกระเป๋าไม่ได้ บัญชีลูกหนี้กรรมการก็จะเกิดขึ้นในงบการเงินอยู่เสมอ

นอกจากนี้แล้วเรื่องความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารที่ใช้สำหรับการบันทึกรายการจ่ายชำระเงิน ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ต้องระวัง เพราะถ้าเราไม่ให้ข้อมูลแก่นักบัญชีให้ครบถ้วน เงินที่หายไปจากบัญชีอาจถูกเหมารวมว่าเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการทั้งหมด

ที่จึงเป็นที่มาที่ไปว่า ทำไมเราถึงตกเป็นลูกหนี้บริษัท ด้วยจำนวนเงินก้อนโต

ถ้าไม่ระมัดระวังให้ดี บัญชีนี้อาจสร้างปัญหาให้เราในอนาคต เช่น ทำให้งบการเงินไม่ถูกต้อง ไม่สะท้อนสภาพความเป็นจริงของกิจการ และภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินได้ธุรกิจเฉพาะที่กิจการต้องจ่าย เพราะกฎหมายกำหนดภาษี ไม่ยอมให้กิจการจะให้กู้แบบฟรีๆ โดยไม่มีดอกเบี้ยระหว่างกัน


ขอบคุณที่มา : zerotoprofit.co

 1071
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์