สำนักงานบัญชีท่านเคยประสบบัญหาอย่างนี้หรือไม่ ?

สำนักงานบัญชีท่านเคยประสบบัญหาอย่างนี้หรือไม่ ?



ธุรกิจสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ส่วนมากจัดทำบัญชีและภาษีโดยนำเอกสารประกอบการจัดทำบัญชี มาจากลูกค้า มาบันทึกบัญชี และจัดเก็บเอกสารไว้ที่สำนักงานบัญชีของตนเอง พร้อมทั้งบริการนำส่งภาษีสรรพากรทุกประเภทให้ลูกค้า จากที่ผมทำธุรกิจสำนักงานบัญชีมายาวนานกว่า 20 ปี ทำให้เห็นปัญหาต่างๆ ที่เหมือนๆกันแทบทุกสำนักงาน ทั่วประเทศไทย
   
     ถึงแม้จะมีการวางแผนป้องกันและแก้ไขดีอย่างไรก็ตาม แต่ก็ยังเกิดขึ้นได้เป็นประจำทุกๆปี ท่านเคยประสบปัญหาดังต่อไปนี้หรือไม่ ?

     1. พนักงานลาออกบ่อย อายุการทำงานของพนักงานเฉลี่ย 1-2 ปี ทำให้การทำงานสะดุด มีการวางแผนการทำงานยาก ไม่ต่อเนื่อง ขยายงานลำบาก เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากกว่าจะได้พนักงานที่มีความรู้ความสามารถมาทำงาน ทดแทน ถ้าจะเตรียมพนักงานสำรองไว้ งบประมาณรายจ่ายก็ไม่เพียงพอ

     2. ช่วงระยะเวลาการปิดบัญชี จัดทำงบการเงินประจำปีให้ลูกค้าของทุกๆปี จะเกิดปัญหาพนักงานมีไม่เพียงพอ หรือมีเพียงพอ แต่พนักงานมีประสบการณ์น้อยเกินไป

     3. การจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานค่อนข้างน้อยกว่าธุรกิจอื่นๆ ถึงแม้สำนักงานบัญชีอยากจะจ่ายให้เท่ากับธุรกิจอื่นก็ตาม แต่เป็นเรื่องยากที่คิดจะหารายได้เพิ่ม การปรับอัตราค่าบริการจากลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องยากมาก

     4. การบันทึกบัญชีให้ลูกค้าล่าช้าเกิน 3 เดือนทำให้เกิดปัญหามากมายในช่วงระยะเวลาการปิดบัญชี จัดทำงบการเงินให้ทันกำหนด

     ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซากนี้มีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้โดยสำนักงานบัญชีทั่วประเทศต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะ การใช้ซอฟต์แวร์บัญชีที่ดีมีคุณภาพ ตอบสนองการใช้งานของสำนักงานบัญชีโดยเฉพาะ (Version สำนักงานบัญชี) ขณะเดียวกันก็นำซอฟท์แวร์นี้ไปเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ SME ที่เป็นลูกค้าของท่าน เลือกซื้อ Software บัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี Click


บทความโดย : http://tac.prosmes.com/
 597
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์