วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ

วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ


เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!!

1.ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาตง่าย ๆ ได้ที่ Click

เพียง กรอกข้อมูล 1. ชื่อ 2. นามสกุล และ 3. เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในระบบตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
  • หากระบบแสดงสถานะ “ปกติ” แปลว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้มีสถานะปกติและสามารถใช้บริการได้
  • หากระบบแสดงสถานะ “ไม่พบข้อมูล” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้อาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต พักใช้ใบอนุญาต หรือ อาจจะไม่ได้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ยังไม่ควรใช้บริการ หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสภาวิชาชีพบัญชีได้โดยตรง
2. ตรวจสอบสถานะสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีง่าย ๆ ได้ที่  Click

  • หากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก”
  • หากไม่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “ไม่เป็นสมาชิก” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือบุคคลนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี  

หมายเหตุ: หากระบบแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก” ไม่ได้หมายความว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” หรือ “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต”


หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อส่วนงานทะเบียน สภาวิชาชีพบัญชี โทรศัพท์ 02-685 2524, 2525, 2529, 2530 หรือ 2532


ที่มา : tfac.or.th
 3829
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชื่อว่านักบัญชีก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามข้อกำหนดของหน่วยงานควบคุมการประกอบอาชีพทางด้านวิชาบัญชี นักบัญชี ก็ไม่ใช่นักกฎหมาย แต่การทำงานทั้งหมดมีกฎหมายกำกับทั้งสิ้น เคยมีคำกล่าวของท่านผู้รู้ในอดีตกล่าวเปรียบเทียบระหว่างนักกฎหมายกับนักบัญชีไว้ว่า
นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย
บัญชีกระแสรายวัน คือประเภทบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องประกอบกิจการต่างๆ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือพาณิชย์ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยจัดการเรื่องการเงินในเชิงธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ โดยเฉพาะเวลาจะทำการโอนหรือจัดการด้านธุรกิจต่างๆ ด้วยวงเงินจำนวนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นบัญชีเงินหมุนเวียน และใช้ออกเช็คในการเบิกจ่ายเงิน โดยสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชีได้ ซึ่งทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพียงส่วนที่เราเบิกเงินเกินเท่านั้น แต่เป็นประเภทบัญชีที่ไม่ได้รับดอกเบี้ย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์