ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย



การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • 1. บุคคลธรรมดา : ใช้แบบ ภ.ง.ด.3 2. นิติบุคคล : ใช้แบบ ภ.ง.ด.53

กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีเอกสารประกอบการบัญชี ดังนี้

  • ใบสำคัญจ่าย
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป)
  • สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่าย)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั่นๆค่ะ

1. ใบสำคัญจ่าย เช่น ค่าบริการ ต้องมี

  • ชื่อ “คนรับ“ ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคลจ่ายให้
  • จำนวนเงินค่าบริการ
  • จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ยอดที่ต้องจ่ายจริง

2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ( สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป )

  • **สำหรับ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคล ที่หักก่อนจ่าย มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับผู้ถูกหัก และต้องนำส่งภาษีเงินได้นี้ ให้กับกรมสรรพากร จึงจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เพราะถ้าหากไม่ทำ ไม่นำส่ง ค่าใช้จ่ายนี้สามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ แต่ในทางภาษีจะไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของปีนั้นๆได้ ทั้งนี้จะถูกบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้กำไรทางภาษีมากขึ้น และเสียภาษีมากขึ้น

3. สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่ายผ่าน Mobile Banking) **จ่ายเป็นเงินสด ก็ไม่ต้องแนบ**

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั้นๆค่ะ

ข้อสรุป ***ก่อนจ่ายเงินได้ให้กับคนรับ อย่าลืม!หักก่อนจ่าย และที่สำคัญ*หักไว้แล้วต้องนำส่งกรมสรรพากรด้วยนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : Link

 1195
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว
ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่า และเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
ภาษีป้ายเป็นภาษีซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดเก็บ  เพื่อหารายได้มาพัฒนาท้องถิ่นของตน  โดยจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ 
ในอดีตที่ผ่านมาความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังมีไม่มาก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมายและเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์การต่าง ๆ
การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์